พิธีการศุลกากรขาเข้า / ขาออก
ในบทนี้ จะกล่าวถึงกิจกรรมสำหรับการค้าระหว่างประเทศ ประกอบด้วยกิจกรรมนำเข้าและส่งออกที่ดำเนินการผ่านท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.) โดยเป็นกรณีการนำเข้าและส่งออกสินค้าที่เป็น Dry Cargo ที่ไม่อันตราย และไม่ต้องแช่เย็น บรรจุในตู้คอนเทนเนอร์แบบเต็มตู้สินค้า (FCL) ขนาด 20 ฟุต โดยขั้นตอนเหล่านี้ เจ้าของสินค้าจะให้ตัวแทน (ซึ่งเป็น Customs Broker / สายเรือ / ตัวแทนเรือ / ผู้ประกอบการขนส่ง) ดำเนินการ โดยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องที่กล่าวถึงในคู่มือนี้ เป็นค่าธรรมเนียมที่จ่ายตรงให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบ และไม่รวมค่าภาษีอากรและค่าบริการของตัวแทน
Select your options
บันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ e - Customs
- รายงานเรือเข้าและบัญชีสินค้า
- ใบขนสินค้า
- Vessel Schedule Message
- Ship Agent Operators
- Master Sea Cargo Manifest
- Container List
ระบบจะตรวจสอบข้อมูลใบขนสินค้ากับรายงานเรือเข้าและบัญชีสินค้าพร้อมดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
- ออกเลขที่รับรายงานเรือเข้า
- ตัดบัญชีสินค้า และออกเลขที่ใบขนสินค้า 14 หลัก พร้อมแจ้งยอดชำระในสถานะพร้อมชำระภาษี
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
กรมศุลกากร: ONLINE CUSTOMS REGISTRATION | link |
ระบบบริการ 3 กรมภาษี: Tax SSO | link |
การจัดการ ณ ท่าเรือ
เมื่อเรือขนสินค้าเข้าเทียบท่าเรือกรุงเทพแล้ว จะมีการจัดการ ณ ท่าเรือ ตามขั้นตอนหลัก ดังต่อไปนี้
ทกท. ใช้ปั้นจั่นขนถ่ายตู้สินค้าจากเรือ แล้วนำวางเก็บในพื้นที่ลานกองเก็บตู้สินค้าและโรงพักสินค้าโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ดำเนินการจัดการ
- ใบเสร็จรับเงิน (ค่าภาระยกขนตู้สินค้า และค่ายานพาหนะผ่านท่า)
- ใบรับของจากท่าเรือกรุงเทพ (Wharf Receipt)
- ใบอนุญาตขอนำตู้สินค้าขาเข้าออกนอกเขตท่าเรือ (Gate Ticket)
Source :
การท่าเรือแห่งประเทศไทย: econtainerservice | link |
การท่าเรือแห่งประเทศไทย: e-Service for Vessel Cargo Management System | link |
พิธีการศุลกากร
1. ชำระภาษีอากร
- ชำระด้วยการตัดบัญชีธนาคาร ผ่าน e - Payment โดยระบุธนาคารและเลขบัญชีธนาคาร พร้อมการบันทึกข้อมูลใบบนสินค้า
- ชำระที่เจ้าหน้าที่ด้วยเงินสดหรือ Cashier Cheque โดยแจ้งเลขที่ใบขนสินค้าที่ได้รับจากระบบ e - Customs
- ไม่ต้องตรวจสอบพิธีการและสินค้า (Green Line)
ผู้นำของเข้าสามารถติดต่อท่าบริการตู้สินค้า หรือโรงพักสินค้า เพื่อขอรับสินค้าได้ทันที
- ต้องตรวจสอบพิธีการและสินค้า (Red Line)
ผู้นำของเข้าจะต้องติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามสั่งการตรวจแบบเปิดตรวจ หรือ X-Ray แล้วจึงจะส่งมอบตู้สินค้าได้
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
การท่าเรือแห่งประเทศไทย: e-Service for Vessel Cargo Management System | link |
ส่งมอบตู้สินค้าขาเข้า
- ผ่านเข้า Main Gate เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลรถบรรทุกผ่านท่าและใบอนุญาตขอนำตู้สินค้าขาเข้าออกนอกเขตท่าเรือ (Gate Ticket)
- ผ่านเข้า Sub Gate In พนักงานด่านตรวจสอบและบันทึกข้อมูล หมายเลขตู้สินค้า หรือ Barcode ใน Gate Ticket และทะเบียนรถ
- เจ้าหน้าที่ยกขนตู้สินค้าขึ้นรถ
- ผ่านออก Sub Gate Out เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ข้อมุลทางระบบและเอกสารการตรวจปล่อยของท่าเรือและศุลกากร สภาพตู้สินค้า เจ้าหน้าที่พิมพ์เอกสารใบกำกับตู้สินค้า (Container Slip) และส่งมอบให้รถบรรทุก
- ผ่านออก Main Gate เจ้าหน้าที่ท่าเรือและเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจสอบเอกสารและความถูกต้องครบถ้วนของการตรวจปล่อยตู้สินค้าขาเข้า พนักงานขับรถนำตู้สินค้าออกจากเขตท่าเรือ
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
การท่าเรือแห่งประเทศไทย: e-Service for Vessel Cargo Management System | link |
Select your options
บันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ e - Customs
1. บันทึกข้อมูลใบขนสินค้าเข้าสู่ระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ (e - Customs)
- หนังโคและหนังกระบือ ไม่ว่าดิบหรือฟอกแล้ว เฉพาะเศษตัด เศษและผงซึ่งสามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมทำหนัง และอุตสาหกรรมผลิตหนัง
- ไม้รวกและไม้มะพร้าว
- ไม้วิเนียร์
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
กรมศุลกากร: ONLINE CUSTOMS REGISTRATION | link |
ระบบบริการ 3 กรมภาษี: Tax SSO | link |
การจัดการ ณ ท่าเรือ
ยื่นแบบขอนำตู้สินค้าเข้าท่าเรือ
ยื่นแบบขอนำตู้สินค้าผ่านเข้าเขตศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ (ทกท.308.2) อย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนรถบรรทุกตู้สินค้าจะมาถึงท่าเรือ
1. ผ่านเข้า Main Gate พนักงานขับรถชำระค่าภาระยกขนตู้สิ้นค้า และค่ายานพาหนะผ่านท่า
2. ผ่านเข้า Sub Gate In เจ้าหน้าที่ด่านตรวจสอบทำการชั่นน้ำหนัก ตรวจสอบประเภทสินค้า สภาพตู้สินค้า และใบกำกับการขนย้ายสินค้า แล้วออกใบตรวจรับสภาพตู้สินค้า (EIR) พร้อมแจ้งตำแหน่งที่กองเก็บตู้สินค้าแก่พนักงานขับรถ
3. ผ่านการตรวจสอบของศุลกากร
- เจ้าหน้าที่ศุลกากรบันทึกหมายเลขใบกำกับการขนย้ายตู้สินค้า พร้อมตรวจสอบข้อมูลในระบบ
- สุ่มตรวจสอบสินค้าด้วยระบบ X - Ray
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
การท่าเรือแห่งประเทศไทย: e-Service for Vessel Cargo Management System | link |
บรรทุกตู้สินค้าลงเรือ
1. ยื่นเอกสารบัญชีตู้สินค้าบรรทุกลงเรือ
- ตรวจสอบข้อมูลตู้สินค้าทางระบบและวางแผนการบรรทุกตู้สินค้าลงเรือ
- ควบคุมปฏิบัติงานบรรทุกตู้สินค้าลงเรือ
- เจ้าหน้าที่ ทกท. ออกรายงานสรุปตู้สินค้าบรรทุกลงเรือ (Container Loading Report)
- ให้บริษัทตัวแทนเรือ ยืนยันตู้สินค้าบรรทุกลงเรือภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากเรือออกจากท่า
- จัดเก็บค่าภาระต่างๆ
Source :
การท่าเรือแห่งประเทศไทย: e-Service for Vessel Cargo Management System | link |
การท่าเรือแห่งประเทศไทย: econtainerservice | link |