การบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง


ตัวอย่างขั้นตอนและค่าใช้จ่ายของการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง ตามขั้นตอนตามกระบวนกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและคดีพิพาทระหว่างธุรกิจซื้อ-ขายทั่วไป โดยจะใช้ตัวอย่างการบังคับคดีในกรณีที่ศาลพิพากษาให้ผู้ซื้อแพ้คดี โดยให้ผู้ซื้อชำระหนี้ที่เกิดจากการสั่งซื้อสินค้า เป็นตัวกำหนดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง

เวลาและค่าใช้จ่ายอ้างอิงตัวอย่างกรณีข้อพิพาทระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย (ทั้งคู่เป็นบริษัทในประเทศ) ที่มีการทำสัญญาซื้อขาย คือให้ผู้ขายส่งสินค้าตามลักษณะที่ผู้ซื้อสั่งทำ แต่เมื่อถึงเวลาส่งของผู้ซื้ออ้างว่าสินค้านั้นไม่ตรงตามที่ต้องการและปฏิเสธที่จะจ่ายเงิน ผู้ขายจึงทำการฟ้องร้องเป็นคดีในศาลโดยให้ผู้ซื้อชำระหนี้ตามมูลค่าสินค้า รวมไปถึงการใช้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความเห็นถึงคุณลักษณะของสินค้า ทั้งนี้สุดท้ายแล้วศาลตัดสินให้ผู้ซื้อต้องจ่ายตามที่ผู้ขายฟ้อง โดยระยะเวลาเริ่มต้นนับจากการที่โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลจนถึงการชำระเงิน ซึ่งรวมทั้งระยะเวลาที่มีการเงินการ และระยะเวลาในการรอคอยด้วยมูลค่าที่ฟ้องร้องสมมติให้เป็น 200 %ของรายได้ต่อหัวประชากร ซึ่งเป็นมูลค่า 300,000 บาท



Select your options

กระบวนการยื่นฟ้องคดี

  1. ร้องขอทวงถามด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชำระหนี้ตามสัญญา
  2. ยื่นคำฟ้อง และจ่ายค่าธรรมเนียมศาลและค่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
  3. ลงทะเบียนคดี (ได้เลขประจำคดี) ผู้พิพากษาซึ่งเป็นผู้บริหารศาลจ่ายสำนวนโดยกระบวนการสุ่ม
  4. ตรวจคำฟ้องและสั่งรับฟ้องและให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
  5. นำส่งหมาย
  6. จำเลยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง
  7. ขอให้ศาลออกคำสั่งคุ้มครองทรัพย์สิน เช่น ห้ามยักย้ายถ่ายเท หรือขายสินค้าที่อยู่ระหว่างการพิพาท
  8. ศาลไต่สวนว่าสมควรให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินหรือไม่
  9. ศาลมีคำสั่งห้ามดำเนินการใดๆ ก่อนคำตัดสิน โดยแจ้งคำสั่งไปที่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
  10. จำเลยยื่นคำให้การ อาจรวมถึงคำให้การจากพยาน ผู้เชี่ยวชาญและหลักฐานอื่นๆ
  11. ศาลส่งคดีเข้าศูนย์ไกล่เกลี่ยของศาล ผู้ประนอมพยายามไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้คู่ความตกลงกัน หากตกลงกันไม่ได้ส่งสำนวนเข้าสู่การพิจารณา
ค่าใช้จ่ายในศาล
     ค่าขึ้นศาล ร้อยละ 2 ของทุนทรัพย์ที่ฟ้อง (ไม่เกิน 50 ล้านบาท) แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ส่วนทุนทรัพย์ที่เกิน 50 ล้านบาท เสียค่าขึ้นศาลร้อยละ 0.1 ค่าส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง ขึ้นกับระยะทางที่อยู่ของจำเลย


Source :
ศาลยุติธรรม: e - Filing link
ศาลยุติธรรม: ดาวน์โหลดแบบพิมพ์ศาลทั้งหมด แยกไฟล์ link

Select your options

กระบวนการพิจารณาคดี

  1. ศาลนัดชี้สองสถาน (เพื่อกำหนดจำนวนพยานและประเด็นข้อพิพาทของคดี) และยื่นบัญชีระบุพยาน
  2. พยานมาเบิกความที่ศาล ณ วันสืบพยาน
  3. ศาลสืบพยาน คู่ความนำพยานเข้าสืบในศาลมีการสอบพยานและผู้เชี่ยวชาญ
  4. ผู้พิพากษาทำการพิจารณาคดีและกำหนดวันนัดฟังคำพิพากษา
  5. ศาลอ่านคำพิพากษา และออกคำบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษา
  6. ลงทะเบียนคำตัดสิน
  7. ผู้พิพากษาให้เจ้าหน้าที่พิมพ์คำพิพากษา
หมายเหตุ
    นับแต่ปี 2551 ในคดีผู้บริโภค การนั่งพิจารณาสืบพยาน กฏหมายให้ศาลนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณาเว้นแต่มีเหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้ ศาลจะมีคำสั่งเลือกได้ครั้งละไม่เกินสิบห้าวัน
* จำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ได้ภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่อ่านคำพิพากษา ถ้าจำเลยไม่อุทธรณ์ คำพิพากษาของศาลชั้นต้นเป็นที่สุด


Source :
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา: ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความแแพ่ง link

Select your options

กระบวนการบังคับคดี

  1. หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแต่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี
  2. โจทก์มาพบเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อยื่นคำร้องขอยึดทรัพย์ และระบุทรัพย์ที่ต้องการยึด
  3. เจ้าพนักงานบังคับคดีตรวจหมายบังคับคดี และคำขอยึดทรัพย์ เจ้าหนี้วางเงินค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี
  4. เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์โดยมี 2 กรณีคือ การยึดอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือ การยึดสังหาริมทรัพย์ พร้อมแจ้งการยึดให้จำเลย และเจ้าพนักงานที่ดินทราบ
  5. รายงานการยึดให้ศาลทราบและขออนุญาตศาลขายทรัพย์สินทอดตลาด
  6. ดำเนินการขายทอดตลาด
  7. จ่ายเงินให้กับโจทก์
    • ชำระหนี้ตามคำพิพากษา
    • ค่าธรรมเนียม
    • ค่าทนายความ

ค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี
  • ยึดอสังหาริมทรัพย์ สำนวนละ 2,500 บาท
  • ยึดสังหาริมทรัพย์ บังคับคดี ขับไล่ รื้อถอน สำนวนละ 1,500 บาท
  • ขอให้บังคับคดีแทนไปยังศาลอื่นสำนวนละ 1,000 บาท
  • ในระหว่างการบังคับคดีหากค่าใช้จ่ายในขั้นบังคับคดีเหลือน้อยหรือไม่เพียงพอ ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีหมายแจ้งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาวางเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามจำนวนที่เห็นสมควร ค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ทดรองจ่ายไปนั้น จะได้รับคืนภายหลังจากการขายทอดตลาดทรัพย์และเจ้าหน้าที่ได้จัดทำบัญชีรับจ่ายเสร็จสิ้นแล้ว


Source :
กรมบังคับคดี: การบังคับคดีแพ่ง link

สอบถามข้อมูล

ติดต่อเราเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ การบริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยหรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ
ติดต่อเรา