การจัดการกับใบอนุญาตก่อสร้าง
ในบทนี้ จะกล่าวถึงขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้างอาคาร โดยยกตัวอย่างประกอบคำอธิบาย เป็นกรณีของการก่อสร้างโกดังสินค้า 2 ชั้น ที่ใช้เก็บสิ่งของทั่วไปที่ไม่เป็นอันตราย ตั้งอยู่ชานเมืองกรุงเทพมหานคร มีแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน แผนผัง และรายการคำนวณ ที่ลงนามรับรองโดยสถาปนิก วิศวกร ที่มีใบอนุญาตแล้ว ระยะห่างจากท่อประปาหลัก ท่อระบายน้ำ และสายโทรศัพท์ 10 เมตร และใช้เวลาก่อสร้าง 30 สัปดาห์ (ไม่นับรวมความล่าช้าจากการดำเนินการอื่น)เพื่อเป็นตัวอย่างให้นักลงทุนได้ทราบถึงขั้นตอน ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย โดยทั่วไป
Select your options
การขออนุญาตก่อสร้าง
ผู้ประกอบการที่มีความประสงค์จะขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ให้เตรียมเอกสารหลักฐาน ยื่นต่อฝ่ายโยธา สำนักงานเขตในกรุงเทพมหานคร หรือเทศบาลท้องถิ่น หรือเมืองพัทยา ที่สถานที่ก่อสร้างนั้นตั้งอยู่ ทั้งนี้หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข เอกสารต่าง ๆ ในการยื่นคำขอ และระยะเวลาพิจารณาอาจมีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ โปรดศึกษาข้อมูลการขออนุญาตก่อสร้างแต่ละพื้นที่ได้ โดยสืบค้นคู่มือสำหรับประชาชนจากเว็บไซท์ศูนย์รวมข้อมูลคู่มือสำหรับประชาชน หรือติดต่อที่สำนักงานเทศบาลท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น หรือเมืองพัทยา
สำหรับพื้นที่ก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร สามารถดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้
1. ยื่นเอกสารหลักฐานต่างๆ ดังนี้
2) สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
3) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
4) สำเนาโฉนดที่ดิน จำนวน 5 ชุด
5) หนังสือรับรองของผู้ออกแบบงานสถาปัตยกรรม
6) สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ออกแบบ
7) หนังสือรับรองผู้ออกแบบและคำนวณงานวิศวกรรม
8) สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ออกแบบและคำนวณงานวิศวกรรม
10) สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมของผู้ควบคุมงาน
12) สำเนาใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมของผู้ควบคุมงาน
13) รายการประกอบแบบ ผังบริเวณ แบบแปลน จำนวน 5 ชุด
14) รายการคำนวณงานวิศวกรรม
2. เจ้าหน้าที่ตรวจเอกสารและอาจดำเนินการสำรวจสถานที่ก่อสร้าง ว่าตรงตามแบบที่ยื่นหรือไม่ โดยผู้ขอไม่จำเป็นต้องมีส่วนร่วมในการสำรวจพื้นที่ หากพิจารณาแล้วเสร็จจะแจ้งให้ดำเนินการรับใบอนุญาต
3. เจ้าพนักงานท้องถิ่นลงนามอนุญาต ภายใน 45 วันนับตั้งแต่วันที่ยื่น (เฉพาะกรณีที่ไม่มีการแก้แบบ) และชำระเงินค่าธรรมเนียม หลังจากนั้นสามารถก่อสร้างได้ทันที
สำหรับการขออนุญาตก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ : (02) 247-0107 , (02) 246-0344 ให้ลูกค้าสามารถติดต่อกองควบคุมอาคาร สำนักการโยธาโดยตรง
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 12 พฤศจิกายน 2563
Source :
กรมโยธาธิการและผังเมือง : แบบฟอร์มคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคาร หรือรื้อถอนอาคาร (แบบ ข.๑) | link |
กรมโยธาธิการและผังเมือง : แบบฟอร์มคำขอที่เกี่ยวกับ การควบคุมและตรวจสอบอาคาร | link |
กทม: แบบฟอร์มการให้บริการของฝ่ายโยธา กรุงเทพมหานคร | link |
กทม: สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร | link |
Select your options
ยื่นเอกสาร
เอกสารที่ต้องใช้
- หนังสือแจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นตรวจสอบการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเคลื่อนย้ายอาคาร (กทม.4)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- สำเนาใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (อ.1)
- สำเนาใบอนุญาตการตัดคันหินทางเท้า ลดระดับคันหินทางเท้า และ/หรือทำทางเชื่อมในที่สาธารณะ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ในเขตกรุงเทพมหานคร
กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร 111 ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร 2 ถนนมิตรไมตรี แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ : 0 2246 0301-2 ต่อ 2046-7 โทรสาร : 0 2247 0075, 0 2247 0107 อีเมล์: bmadpwbcd@gmail.com
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 29 กุมภาพันธ์ 2559
Source :
กรมโยธาธิการและผังเมือง : แบบฟอร์มคำขอที่เกี่ยวกับ การควบคุมและตรวจสอบอาคาร | link |
สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร: กองควบคุมอาคาร | link |
Select your options
ขอติดตั้งโทรศัพท์
เอกสารหลักฐาน:
กรณีบุคคลธรรมดา
- บัตรประจำตัวประชาชน
กรณีนิติบุคคล
- สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล อายุไม่เกิน 180 วัน พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้องและประทับตราบริษัท 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลพร้อมลงลายมือชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง
- สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (แบบ ภ.พ. 20) (ถ้ามี)
- หนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ (กรณีมอบอำนาจ)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชานของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจ)
หมายเหตุ: ปัจจุบัน มีผู้ให้บริการโทรศัพท์จำนวนหลายราย ซึ่งอาจมีรายละเอียดและขั้นตอนในการขอรับบริการแตกต่างกันไปในแต่ละราย
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด มกราคม 2560
Source :
TOT : ดาวน์โหลดเอกสารแบบฟอร์มต่าง ๆ | link |
Select your options
การขอติดตั้งน้ำประปา (พื้นที่กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ)
หลักฐานในการประกอบการขอติดตั้งประปาใหม่ ประเภทถาวร (กรณีนิติบุคคล)
1. หนังสือรับรองนิติบุคคลที่เจ้าหน้าที่ของรัฐรับรองไม่เกิน 3 เดือน
1. หนังสือรับรองนิติบุคคลที่เจ้าหน้าที่ของรัฐรับรองไม่เกิน 3 เดือน
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) และหลักฐานการตรวจลงตรา หรือหลักฐานแสดงตนอื่น ของผู้มีอำนาจกระทาการแทนนิติบุคคล
3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอใช้น้ำ
4. สำเนาเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้น้า
5. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน)
6. แผนผังของที่ตั้ง (ถ้ามี)
หลักฐานในการประกอบการขอติดตั้งประปาใหม่ ประเภทชั่วคราว (ใช้น้ำเพื่อการก่อสร้างหรือสภาพอื่น ๆ) (กรณีนิติบุคคล)
1. หนังสือรับรองนิติบุคคลที่เจ้าหน้าที่ของรัฐรับรองไม่เกิน 3 เดือน
1. หนังสือรับรองนิติบุคคลที่เจ้าหน้าที่ของรัฐรับรองไม่เกิน 3 เดือน
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) และหลักฐานการตรวจลงตรา หรือหลักฐานแสดงตนอื่น ของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
3. สำเนาทะเบียนบ้านชั่วคราว หรือสำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง (ถ้ายังไม่ได้ให้ใช้สำเนาใบคำขอ)หรือสำเนาโฉนดที่ดินสถานที่ขอใช้น้ำ หรือเอกสารอื่นซึ่งแสดงสิทธิครอบครองสถานที่ขอใช้น้ำ
4. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้ดำเนินการแทน)
5. แผนผังของที่ตั้ง (ถ้ามี)
หลักฐานในการประกอบการขอติดตั้งประปาใหม่ประเภทถาวร (กรณีบุคคลธรรมดา)
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) และหลักฐานการตรวจลงตรา หรือหลักฐานแสดงตัวตนอื่น
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) และหลักฐานการตรวจลงตรา หรือหลักฐานแสดงตัวตนอื่น
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอใช้น้ำ
3. สำเนาเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครอง
4. หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอานาจ (กรณีมอบอานาจให้ดำเนินการแทน)
5. แผนผังของที่ตั้ง (ถ้ามี)
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 12 พฤศจิกายน 2563
Source :
การประปาส่วนภูมิภาค: PWA E-Service | link |
การประปานครหลวง: สำนักงานประปานครหลวงต่าง ๆ | link |
การประปานครหลวง: MWA E-service | link |
การประปาส่วนภูมิภาค: แบบฟอร์มคำขอต่าง ๆ | link |
การประปานครหลวง: การติดตั้งประปา | link |
การขอติดตั้งน้ำประปา (พื้นที่อื่น ๆ นอกเขตกรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ)
หลักฐานในการประกอบการขอใช้น้ำแบบติดตั้งถาวร กรณีบุคคลธรรมดา
บุคคลที่มีสัญชาติไทย
1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือสำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการหรือสำเนาบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอติดตั้งประปาและ/ หรือสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ขอติดตั้งประปาอยู่ในทะเบียนบ้าน
3. กรณีผู้ขอติดตั้งประปามิใช่เจ้าบ้าน หรือเจ้าของบ้าน จะต้องมีสำเนาทะเบียนบ้านที่มีชื่อผู้ขอใช้น้ำอยู่ในทะเบียนบ้านและให้เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้านทำหนังสือยินยอมพร้อมแนบหลักฐานสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้านด้วย ในกรณีผู้ขอใช้น้ำเป็นบิดา มารดา บุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้ว และ คู่สมรสของเจ้าบ้าน หรือเจ้าของบ้าน ให้ยกเว้นไม่ต้องทำหนังสือยินยอม หรือ
4. หนังสือ หรือเอกสารใดๆ ที่แสดงว่าผู้ขอใช้น้ำเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในบ้านที่จะขอติดตั้งประปาในกรณีเจ้าของบ้านยังมิได้ย้ายเข้าอยู่ในทะเบียนบ้าน หรือย้ายเข้าอยู่ในทะเบียนบ้านแล้วแต่ในทะเบียนบ้านมิได้ระบุว่าเป็นเจ้าบ้าน หรือ
5. สำเนาเอกสารแสดงสิทธิครอบครองสถานที่ใช้น้ำ เช่น สัญญาเช่า สัญญาจะซื้อจะขาย เป็นต้น
บุคคลที่ไม่ได้มีสัญชาติไทย (ชาวต่างประเทศ)
1. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) และ หลักฐานการตรวจลงตรา
2. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอใช้น้ำ
3. สำเนาเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้น้ำ
4. อื่น ๆ (ถ้ามี)
หลักฐานในการประกอบการขอใช้น้ำแบบติดตั้งถาวร กรณีนิติบุคคล
1. หนังสือรับรองนิติบุคคล อายุไม่เกิน 3 เดือน
2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล
3. สำเนาทะเบียนบ้านที่ขอใช้น้ำ
4. สำเนาเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้น้ำ
5. อื่น ๆ (ถ้ามี)
หลักฐานในการประกอบการขอใช้น้ำแบบติดตั้งชั่วคราว กรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
1. หลักฐานการขอใช้น้ำ เช่นเดียวกับการขอติดตั้งถาวร
2. สำเนาเอกสารการให้เลขหมายประจำบ้าน
3. สำเนาใบอนุญาตก่อสร้าง (ถ้ายังไม่ได้ ให้ใช้สำเนาใบคำขอ) หรือ
4. โฉนดที่ดินสถานที่ขอใช้น้ำ
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด มกราคม 2560
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด มกราคม 2560
Source :
การประปานครหลวง: MWA E-Service | link |
การประปาส่วนภูมิภาค: PWA E-Service | link |