FAQ - Iron Ore Business Collaboration with Thailand Miner

Advice to contact Department of Primary Industries and Mines (DPIM)
Contact person : Mr. Sakol, Director of License Bureau,
Department of Primary Industries and Mines (DPIM)
Tel: +662-202-3663 or +662-202-3664
Please see more details from website of Department of Primary Industries and Mines (DPIM), in Thai language only.
See Process of Achayabat
ขั้นตอนดำเนินการอนุญาตอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่และอาชญาบัตรพิเศษ

http://www.dpim.go.th/srv/article?catid=79&articleid=1203

อาชญาบัตร

ขั้นตอนดำเนินการอนุญาตอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่และอาชญาบัตรพิเศษ

เมื่อผู้ขอยื่นคำขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่หรืออาชญาบัตรพิเศษพร้อมเอกสารประกอบคำขอเจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่ จะต้องดำเนินการเป็น5ขั้นตอน ดังนี้

1.เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่่

-รับคำขอ

-เขียนแผนที่แสดงเขตที่ขอสำรวจ

-เขียนแบบพิมพ์อาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่หรืออาชญาบัตรพิเศษ

-ส่งแผนงานและวิธีการสำรวจแร่ ไปสำนักงานอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่เขต หรือกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่แล้วแต่กรณี เพื่อตรวจสอบ สำหรับอาชญาบัตรพิเศษ ส่งข้อผูกพันสำหรับการสำรวจ โดยระบุปริมาณเงินที่ใช้จ่าย เพื่อการสำรวจแต่ละปี ตลอดอายุของอาชญาบัตรพิเศษ และผลประโยชน์พิเศษ เพื่อประโยชน์แก่รัฐไปเพื่อตรวจสอบด้วย

2.สำนักเหมืองแร่และสัมปทาน รวบรวม ตรวจสอบ เอกสาร

3.คณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับการขอสิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่พิจารณาก่อนนำเสนอคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติแร่

4.คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติแร่เสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อพิจารณาอนุญาตอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่หรืออาชญาบัตรพิเศษ

5.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอนุญาตอาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่ หรืออาชญาบัตรพิเศษ

เอกสารที่ใช้ประกอบคำขออาชญาบัตรผูกขาดสำรวจแร่หรืออาชญาบัตรพิเศษ

กรณีบุคคลธรรมดา

1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

2.สำเนาทะเบียนบ้าน

3.สำเนาหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกสภาการเหมืองแร่

4.สำเนาหนังสือมอบอำนาจที่ทำตามแบบที่อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กำหนดในกรณีที่ได้มอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นคำขอแทน

5.แผนที่แสดงเขตที่ขอสำรวจ

6.แผนงานและวิธีการสำรวจแร่

7.ข้อผูกพันสำหรับการสำรวจ โดยระบุปริมาณเงิน ที่ใช้จ่ายเพื่อการสำรวจแต่ละปีตลอดอายุของอาชญาบัตรพิเศษ

8.รายละเอียดผลประโยชน์พิเศษเพื่อประโยชน์แก่รัฐ(สำหรับคำขออาชญาบัตรพิเศษเพิ่มข้อ7และข้อ8)

กรณีนิติบุคคล

1.สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท

2.สำเนาหนังสือสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล

3.สำเนาหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แสดงรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (สำเนาหนังสือรับรองต้องไม่เกิน6เดือน)

4.สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับรอง

5.สำเนาหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกสภาการเหมืองแร่

6.สำเนาหนังสือมอบอำนาจที่ทำตามแบบที่อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กำหนดในกรณีที่ได้มอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นคำขอแทน

7.แผนที่แสดงเขตที่ขอสำรวจ

8.แผนงานและวิธีการสำรวจแร่

9.ข้อผูกพันสำหรับการสำรวจ โดยระบุปริมาณเงินที่จะใช้จ่ายเพื่อการสำรวจแต่ละปีตลอดอายุของอาชญาบัตรพิเศษ

10.รายละเอียดผลประโยชน์พิเศษเพื่อประโยชน์แก่รัฐ(สำหรับคำขออาชญาบัตรพิเศษ เพิ่มข้อ9และข้อ10)

See Process ofPratannabatขั้นตอนดำเนินการอนุญาตประทานบัตร

http://www.dpim.go.th/srv/article?catid=79&articleid=1204

ประทานบัตร (Pratannabat)

ขั้นตอนดำเนินการอนุญาตประทานบัตร

เมื่อผู้ขอยื่นคำขอประทานบัตรพร้อมเอกสาร ประกอบคำขอ เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่จะต้องดำเนินการ เป็น8ขั้นตอน ดังนี้

1.เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่่

-รับคำขอ

-นัดผู้ขอเพื่อนำรังวัดกำหนดเขต

-ทำการรังวัด ทำการไต่ส่วน และจัดทำแผนที่

2.แจ้งหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งแจ้งผู้ขอดำเนินการดังนี้หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง

-พื้นที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ผู้ยื่นคำขอต้องดำเนินการติดต่อกรมป่าไม้ พิจารณาอนุมัติให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าไม้

-หรือพื้นที่อยู่ในความดูแลของหน่วยราชการอื่น ผู้ยื่นคำขอต้องดำเนินการติดต่อส่วนราชการนั้นเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

-หรือพื้นที่อยู่ในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองของบุคคลอื่น ผู้ยื่นคำขอต้องนำหนังสืออนุญาตของผู้มีสิทธิในที่ดินนั้น และมีคำรับรองของนายอำเภอประจำท้องที่มาแสดงประกอบการอนุญาต

-สภาตำบลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลพิจารณาให้ความเห็นชอบ

-จังหวัดดำเนินการแจ้งให้อำเภอและกำนันท้องที่ปิดประกาศ ณ ที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการกิ่งอำเภอและที่ทำการกำนันท้องที่แห่งละหนึ่งฉบับเป็นเวลา20วันทำการ

ผู้ขอจัดทำเอกสารส่งให้เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่ ดังนี้

-แผนผังโครงการทำเหมืองและรายการคำนวณอายุประทานบัตร

-รายงานลักษณะธรณีวิทยาแหล่งแร่

-รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

3.เจ้าพนักงานอุตสาหกรรมแร่ประจำท้องที่รวบรวมเอกสารส่งไปกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่

-กรณีเป็นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้กรมส่งไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาให้ความเห็นชอบ

4.สำนักเหมืองแร่และสัมปทาน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐาน และการเหมืองแร่ ตรวจสอบเอกสาร พร้อมทั้งหนังสือเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหนังสืออนุญาตให้ใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีเป็นพื้นที่ของหน่วยงานนั้น ๆ

5.คณะกรรมการพิจารณาเกี่ยวกับการขอสิทธิสำรวจและทำเหมืองแร่ของกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่พิจารณาก่อนนำเสนอคณะกรรมการตามพระราชบัญญัติแร่

6.คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติแร่เสนอความเห็นต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อพิจารณาอนุญาตประทานบัตร

7.กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่สอบถามปัญหาในด้านมวลชนหรือการคัดค้านของราษฎรจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด

8.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอนุญาตประทานบัตร

เอกสารที่ใช้ประกอบคำขอประทานบัตร

กรณีบุคคลธรรมดา

1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

2.สำเนาทะเบียนบ้าน

3.สำเนาหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกสภาการเหมืองแร่

4.หลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าพบแร่ หรือมีแร่ชนิดที่ประสงค์จะเปิดการทำเหมืองในเขตคำขอนั้น

5.สำเนาหนังสือมอบอำนาจที่ทำตามแบบที่อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กำหนด ในกรณีที่ได้มอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นคำขอแทน

กรณีนิติบุคคล

1.สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท

2.สำเนาหนังสือสำคัญการจดทะเบียนนิติบุคคล

3.สำเนาหนังสือรับรองของนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท แสดงรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม (สำเนาหนังสือรับรองต้องไม่เกิน6เดือน)

4.สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่นายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทรับรอง

5.สำเนาหนังสือรับรองการเป็นสมาชิกสภาการเหมืองแร่

6.หลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าพบแร่ หรือมีแร่ชนิดที่ประสงค์จะเปิดการทำเหมืองในเขตคำขอนั้น7สำเนาหนังสือมอบอำนาจที่ทำตามแบบอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่กำหนด ในกรณีที่ได้มอบหมายให้บุคคลอื่นยื่นคำขอแทน

Enquiries

Send us your enquiries for comprehensive information on doing business, and assistance to facilitate your investment in Thailand.
Contact Us