ปัญหาทางกฎหมายอื่น ๆ



Select your options

กฎระเบียบสกุลเงิน

ก. กฎระเบียบ

กฎหมายแม่บทที่ใช้ในการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ได้แก่ พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินพุทธศักราช 2485 และจากการอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวได้มีการออกกฎกระทรวง ประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

ข. การควบคุมดูแลให้เป็นไปตามระเบียบ

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ทำหน้าที่กำกับดูแลการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งพนักงานของธนาคารเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 เพื่อควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนเงินตราต่างประเทศทุกประเภทจะต้องกระทำกับธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศ (ธนาคารรับอนุญาต) หรือผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินตราต่างประเทศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งได้แก่ บุคคลรับอนุญาต ตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ และบริษัทรับอนุญาต ทั้งนี้ ห้ามมิให้บุคคลทั่วไปซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนเงินตราต่างประเทศกับผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินเป็นรายกรณี

ค. ระเบียบเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศและเงินบาท

  1) เงินตราต่างประเทศ

การนำหรือโอนเงินตราต่างประเทศเข้ามาในประเทศทำได้ไม่จำกัดจำนวน แต่เมื่อนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาแล้ว ต้องขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศนั้นกับธนาคารรับอนุญาตที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยภายใน 360 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้มาหรือนำเข้า ทั้งนี้ ยกเว้นบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศและชาวต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวไม่เกิน 3 เดือน สถานทูตต่างประเทศและผู้ได้รับเอกสิทธิ์ทูต ทบวงการชำนัญพิเศษแห่งองค์การสหประชาชาติ องค์การหรือสถาบันระหว่างประเทศ รวมถึงพนักงาน ผู้เชี่ยวชาญหรือบุคคลอื่นที่ปฏิบัติภารกิจเพื่อทบวงการชำนัญพิเศษ องค์การหรือสถาบันนั้นๆ ซึ่งได้รับเอกสิทธิ์และความคุ้มกันในประเทศไทย

การซื้อหรือโอนเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศผ่านธนาคารรับอนุญาต ต้องยื่นเอกสารแสดงภาระผูกพันในต่างประเทศ โดยสามารถโอนออกได้ตามภาระหรือวงเงินที่กำหนด ทั้งนี้ ผู้ประกอบการในประเทศสามารถทำสัญญาซื้อหรือขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าเพื่อคุ้มครองความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนกับธนาคารรับอนุญาตในประเทศไทยได้ โดยต้องมีรายได้หรือรายจ่ายที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่จะได้รับหรือต้องชำระในอนาคต หรือมีการลงทุนในต่างประเทศ

  2) เงินบาท

การนำธนบัตรเงินบาทเข้ามาในประเทศทำได้ไม่จำกัดจำนวน ส่วนการนำธนบัตรเงินบาทติดตัวออกไปยังประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐประชาชนจีน (เฉพาะมณฑลยูนนาน) และประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทยได้ครั้งละไม่เกิน 2,000,000 บาท สำหรับประเทศอื่นนำออกได้ไม่เกินครั้งละ 50,000 บาท

ทั้งนี้ การนำธนบัตรเงินบาท ธนบัตรเงินตราต่างประเทศ หรือตราสารเปลี่ยนมือออกไปนอกหรือเข้ามาในประเทศ อันมีมูลค่ารวมกันเกินกว่า 450,000 บาท หรือ 15,000 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่า ต้องสำแดงรายการต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรตามแบบที่กำหนด


ข้อมูลโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย อัพเดต กรกฎาคม 2562



Source :
ธนาคารแห่งประเทศไทย: ข้อควรทราบเกี่ยวกับระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน link

บัญชีเงินฝากธนาคาร

ก. บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลไทย
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลในประเทศไทยสามารถเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ ไว้กับธนาคารรับอนุญาตในประเทศไทย โดยการฝากหรือถอนเงินจากบัญชีมีเงื่อนไข ดังนี้
1) การฝาก
   1. เงินตราต่างประเทศอันมีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ เช่น รายได้ ค่าบริการ เงินลงทุนที่ได้รับมาจากต่างประเทศสามารถฝากได้โดยไม่จำกัดวงเงิน และไม่ต้องแสดงภาระผูกพันในต่างประเทศ
   2. เงินตราต่างประเทศที่ได้จากการซื้อ แลกเปลี่ยน หรือกู้ยืมจากธนาคารรับอนุญาต สามารถนำเข้าฝากในบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศได้ ดังนี้
     2.1 บัญชีแบบมีภาระผูกพัน : ฝากได้ตามภาระผูกพันที่จะต้องชำระในต่างประเทศ ทั้งนี้ ภาระผูกพันดังกล่าวให้รวมถึงการชำระคืนหนี้เงินกู้จากธนาคารรับอนุญาตด้วย
     2.2 บัญชีแบบไม่มีภาระผูกพัน : ฝากได้ไม่เกิน 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือเทียบเท่าสำหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล
   3. บุคคลหรือนิติบุคคลไทยฝากธนบัตรเงินตราต่างประเทศได้ไม่เกินวันละ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือเทียบเท่า

2) การถอน
   1. ชำระภาระผูกพันในต่างประเทศของตน หรือธุรกิจในเครือให้แก่บุคคลในต่างประเทศ
   2. ชำระหนี้เงินตราต่างประเทศของตน หรือธุรกิจในเครือให้แก่ธนาคารรับอนุญาต
   3. ถอนเพื่อฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศบัญชีอื่นของตน ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการฝากเงินตราต่างประเทศด้วย
   4. ถอนเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินตราต่างประเทศสกุลอื่นก่อนฝากเข้าบัญชีสกุลอื่นของตน หรือแลกเปลี่ยนแล้วนำเงินตราต่างประเทศดังกล่าวไปชำระภาระให้แก่บุคคลในต่างประเทศหรือชำระหนี้ให้แก่ธนาคารรับอนุญาตทันที
   5. ถอนเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินบาท
ทั้งนี้ อนุญาตให้นิติบุคคลที่มีแหล่งเงินได้ค่าสินค้าและบริการจากต่างประเทศสามารถโอนเงินดังกล่าวจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศประเภทแหล่งต่างประเทศของตนเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของคู่ค้าในประเทศ เพื่อชำระค่าสินค้าบริการได้

ข. บัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศสามารถเปิดบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศกับธนาคารรับอนุญาตในประเทศไทยได้ กรณีเงินตราต่างประเทศที่มีแหล่งจากต่างประเทศสามารถฝากได้โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องวงเงิน กรณีเงินที่ฝากเข้าบัญชีได้รับชำระหนี้จากบุคคลในประเทศหรือเป็นเงินกู้จากธนาคารรับอนุญาตต้องแสดงเอกสารหลักฐานตามระเบียบ สำหรับการถอนเงินจากบัญชีสามารถทำได้โดยไม่มีข้อจำกัด

ค. บัญชีเงินบาทของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
บุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศสามารถเปิดบัญชีเงินบาทไว้กับธนาคารรับอนุญาตในประเทศไทยได้ 2 ประเภท ดังนี้
   1. บัญชีเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินอื่น การฝากหรือถอนเงินจากบัญชีต้องเป็นไปเพื่อการลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงินในประเทศไทย เช่น หุ้น พันธบัตร เป็นต้น
   2. บัญชีเพื่อวัตถุประสงค์ทั่วไป การฝากหรือถอนเงินจากบัญชีต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เงินลงทุนในหลักทรัพย์และตราสารทางการเงิน เช่น ค่าสินค้าบริการ เงินลงทุนโดยตรง เงินกู้ยืม เงินลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ยอดคงค้างในบัญชี ณ สิ้นวันสำหรับบัญชีแต่ละประเภทต้องไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อราย และห้ามโอนเงินระหว่างบัญชีแต่ละประเภท


ข้อมูลโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย อัพเดต กรกฎาคม 2562


ค่าสินค้าและบริการ

ก. ค่าสินค้าออก
ผู้ส่งสินค้าออกที่มีมูลค่าตั้งแต่ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือเทียบเท่า จะต้องนำเงินค่าของส่งออกเข้ามาในประเทศทันทีที่ได้รับชำระเงินจากผู้ซื้อในต่างประเทศ ซึ่งต้องไม่เกิน 360 วันนับแต่วันที่ส่งของออก และจะต้องขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศนั้นกับธนาคารรับอนุญาตภายใน 360 วันนับแต่วันที่ได้มาหรือนำเข้า

ข. ค่าสินค้าเข้า
ผู้นำสินค้าเข้าสามารถซื้อเงินตราต่างประเทศหรือถอนเงินตราต่างประเทศจากบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ เพื่อโอนไปชำระค่าสินค้าที่ซื้อจากผู้ขายในต่างประเทศได้โดยไม่มีข้อจำกัด และการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตไปชำระค่าสินค้าสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าพนักงาน

ค. ค่าบริการ
บุคคลหรือนิติบุคคลไทยที่ได้รับเงินค่าบริการจากต่างประเทศตั้งแต่ 50,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือเทียบเท่าขึ้นไป จะต้องนำเงินเข้ามาในประเทศทันทีที่ได้รับชำระเงินจากต่างประเทศ ซึ่งต้องไม่เกิน 360 วันนับจากวันที่ทำธุรกรรม และจะต้องขายหรือฝากเงินตราต่างประเทศนั้นกับธนาคารรับอนุญาตภายใน 360 วันนับแต่วันที่ได้มาหรือนำเข้า
การชำระค่าบริการให้แก่บุคคล หรือนิติบุคคลในต่างประเทศ เช่น ค่าธรรมเนียม ดอกเบี้ย เงินปันผล เงินกำไร หรือค่ารอยัลตี้ รวมถึงการโอนเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการศึกษา สามารถกระทำได้ตามภาระโดยแสดงเอกสารหลักฐานต่อธนาคารรับอนุญาต สำหรับการซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อนำติดตัวไปเป็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศ สามารถทำได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม


ข้อมูลโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย อัพเดต กรกฎาคม 2562


Source :
BOT: Exchange Control Regulations in Thailand link

การถือครองที่ดินของชาวต่างชาติ

การถือครองกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติในประเทศไทย 
หากชาวต่างชาติสนใจที่จะซื้อที่ดินในประเทศไทยสิ่งแรกที่ควรทราบคือ ภายใต้กฎหมายไทยชาวต่างชาติไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ อย่างไรก็ตามชาวต่างชาติสามารถถือกรรมสิทธิ์ในตัวอาคารที่ไม่ติดกับพื้นดิน อาทิ อาคารชุดได้ ชาวต่างชาติสามารถถือกรรมสิทธิ์ใน
  • ห้องพักในอาคารที่จดทะเบียนเป็นอาคารชุด
  • อาคารส่วนที่ไม่ติดกับพื้นดิน
  • ที่ดินและอาคารทุกชนิดที่ได้จดทะเบียนสัญญาเช่าแบบระยะยาวมากกว่า 30 ปีขึ้นไป
ชาวต่างชาติไม่สามารถถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ดินซึ่งจดทะเบียนในนามนิติบุคคลสัญชาติไทยแต่ถือหุ้นเกิน 49% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด

การซื้ออาคารชุด
ภายใต้พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ.2522 ชาวต่างชาติสามารถถือครองห้องชุดได้ในอัตราส่วน 49 % ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดในอาคารที่ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดผู้ซื้อจะต้องขอจดหมายรับรองสัดส่วนต่างชาติจากนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งจะต้องนำไปยื่นกับกรมที่ดินเพื่อใช้ในการโอนกรรมสิทธิ์

แบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ
ผู้ซื้อชาวต่างชาติต้องนำเงินทุนทั้งหมด 100% เข้ามาจากต่างประเทศเป็นเงินสกุลต่างชาติและจำเป็นต้องใช้แบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศจากธนาคารเป็นหลักฐานการโอนเงินเพื่อนำไปแสดงต่อกรมที่ดินเนื่องจากกฎระเบียบด้านการป้องกันการฟอกเงินจึงจำเป็นต้องมีแบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศขึ้นเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงความยุ่งยากและยังเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีเมื่อต้องการโอนเงินกลับไปยังต่างประเทศในกรณีที่ชาวต่างชาติต้องการขายอาคารชุดนั้นในภายหลัง
หมายเหตุ: คุณสามารถขอรับแบบการทำธุรกรรมเงินตราต่างประเทศสำหรับการนำเงินเข้ามาเป็นจำนวนเงินมากกว่า 20,000 ดอลลาร์เท่านั้นโดยคุณจะต้องระบุวัตถุประสงค์ในการโอนเงินในแบบฟอร์มในช่องข้อมูลผู้รับรวมทั้งจะต้องระบุชื่ออาคารชุดและเลขที่ห้องพักด้วยอีกเช่นกัน

การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
ชาวต่างชาติมักจะเลือกใช้สองวิธีดังต่อไปนี้ในการซื้อที่ดิน
1. การทำสัญญาเช่าแบบระยะยาว
การจดทะเบียนสัญญาเช่าแบบระยะยาวเป็นวิธีที่ปลอดภัยและง่ายกว่าวิธีอื่นการทำสัญญาเช่าแบบระยะยาวมีค่าเทียบเท่ากับการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยปกติแล้วจะเป็นการเช่าที่ดินเป็นระยะเวลา 30 ปี และสามารถต่อสัญญาได้สองครั้ง ครั้งละ 30 ปีรวมเป็นระยะเวลาทั้งหมด 90 ปีการรับประกันการถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินด้วยวิธีดังกล่าวนี้ถือว่าคุณเป็นเจ้าของอาคารที่ก่อสร้างบนที่ดินดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างไรก็ตามผู้ให้เช่าไม่สามารถเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวได้จนกว่าจะสิ้นสุดสัญญาเช่าเนื่องจากอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่ได้หมายถึงที่ดินและไม่ได้ถือเป็นส่วนควบของทรัพย์สินตามที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแต่อย่างไร

2. การจัดตั้งบริษัทจำกัด
หากคุณไม่ประสงค์ที่จะทำสัญญาเช่าแบบระยะยาวทางเลือกที่สองก็คือการจัดตั้งบริษัทสัญชาติไทยซึ่งคุณจะสามารถควบคุมการดำเนินการและสามารถซื้อที่ดินได้ถูกต้องตามกฎหมายหมายความว่า ในฐานะที่คุณเป็นชาวต่างชาติ คุณจะสามารถถือหุ้นได้เป็นจำนวน 49% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดในบริษัทจำนวนหุ้นที่เหลือจะถือโดยบุคคลหรือนิติบุคคลสัญชาติไทยอื่นๆ (คุณสามารถปรึกษากับทนายของคุณให้ดำเนินการในเรื่องนี้ได้)ซึ่งจะเป็นผู้ลงนามแทนคุณ โดยบริษัทจะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน อย่างไรก็ตามในฐานะกรรมการบริษัท คุณจะสามารถควบคุมการลงมติของหุ้นส่วนอื่นๆได้และคุณยังสามารถควบคุมการถือครองกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้อีกเช่นกัน

หมายเหตุ: ไม่นานมานี้ทางรัฐบาลไทยได้ประกาศว่าจะดำเนินการตรวจสอบที่มาของเงินที่หุ้นส่วนสัญชาติไทยใช้ในการถือหุ้นจำนวน 51% ในบริษัทว่าเป็นเพียงผู้รับถือหุ้นแทนหรือไม่ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ระบุไว้ว่าห้ามมิให้ผู้ถือหุ้นสัญชาติไทยดำเนินการเป็นผู้รับถือหุ้นแทน

หญิงไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติ
ก่อนปี พ.ศ. 2541 หญิงไทยผู้ใดที่สมรสกับชาวต่างชาติจะเสียสิทธิในการซื้อที่ดินในประเทศไทยอย่างไรก็ตามหญิงไทยผู้นั้นสามารถถือครองที่ดินที่ตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ก่อนที่จะมีการสมรสกับชาวต่างชาติเกิดขึ้นได้แต่นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 เป็นต้นไปกฎกระทรวงปัจจุบันนั้นได้อนุญาตให้หญิงไทยที่สมรสกับชาวต่างชาติมีสิทธิในการซื้อที่ดินได้แต่หญิงไทยต้องพิสูจน์ว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินทั้งหมดนั้นเป็นสินส่วนตัวของบุคคลสัญชาติไทยแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยปกติแล้วคู่สมรสของชาวต่างชาติจะต้องลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรระบุว่าเงินที่นำมาซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นเป็นของคู่สมรสสัญชาติไทยก่อนดำเนินการสมรสและคู่สมรสชาวต่างชาติไม่สามารถเรียกร้องสิทธิในส่วนนี้ได้

1.1 ข้อแนะนำการซื้ออสังหาฯสำหรับชาวต่างชาติ
หากคุณเป็นชาวต่างชาติหรือมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติคุณคงสงสัยว่าชาวต่างชาติจะสามารถซื้ออสังหาริมทรัพย์ได้หรือไม่การที่จะซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาตินั้นไม่ใช่เรื่องยากแต่ควรทำความเข้าใจข้อจำกัดทางกฎหมายว่าด้วยเรื่องการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินของชาวต่างชาติในประเทศไทยก่อนกล่าวคือ โดยหลักกฎหมายไทยยังไม่อนญาตให้ชาวต่างชาติมาถือครองที่ดินในประเทศไทยยกเว้นเสียแต่ว่าจะมีเงินมาลงทุนไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาทสามารถซื้อที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยแต่เงื่อนไขนี้ไม่รวมถึงการซื้อห้องชุดหรือคอนโดมิเนียมซึ่งชาวต่างชาติที่มีสิทธิ์ถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองหรือ
  • เป็นชาวต่างชาติหรือนิติบุคคลที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
  • เป็นชาวต่างชาติหรือนิติบุคคลที่กฎหมายถือว่าเป็นคนต่างด้าวซึ่งนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งการถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดหรือคอนโดมิเนียมของชาวต่างชาติเมื่อรวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 49% ของเนื้อที่ห้องชุดทั้งหมดดังนั้นหากคุณมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งก็ไม่มีปัญหาใดๆในการเป็นเจ้าของห้องชุดแต่ให้จำไว้อย่างหนึ่งว่าเงินที่คุณจะนำมาซื้ออสังหาริมทรัพย์นั้นจะต้องเป็นเงินที่โอนมาจากธนาคารต่างประเทศมายังธนาคารในประเทศไทยซึ่งจะต้องมีใบเสร็จรับเงินและใบรับรองจากธนาคารเพื่อป้องกันการฟอกเงินนอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ กฎหมายยังอนุญาตให้ชาวต่างชาติสามารถซื้อหรือมีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ โดยการ
  • ซื้อโดยใช้ชื่อคู่สมรสที่เป็นคนไทยแต่จะถือว่ากรรมสิทธิ์จะเป็นของบุคคลสัญชาติไทย
  • การเช่าระยะยาวโดยมีสัญญาเช่าสูงสุดได้ 30 ปี และสามารถต่อสัญญาได้อีก 30 ปี ได้ถึงสองครั้ง แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า
  • การจัดตั้งบริษัทหรือนิติบุคคลมีหุ้นส่วนเป็นคนไทยโดยชาวต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% แล้วโอนกรรมสิทธิ์อสังหาริมทรัพย์ให้เป็นชื่อของบริษัทซึ่งคุณสามารถอยู่อาศัยในฐานะกรรมการ แต่คุณจะไม่ใช่เจ้าของบริษัทจะเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ
เพียงเท่านี้คุณจะเห็นว่าการจะเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์สำหรับชาวต่างชาติไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากเลยหลายครั้งที่ได้ยินข่าวว่ามีชาวต่างชาติที่มีภรรยาหรือแฟนถูกหลอกให้ซื้อบ้านหรือที่ดินโดยใช้ชื่อแฟนหรือภรรยาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ซึ่งถ้าหากเป็นการซื้อด้วยเงินสดแล้วหากมีปัญหาต้องเลิกกันและไม่ได้จดทะเบียนสมรสจะทำให้ชาวต่างชาติไม่มีสิทธิ์ในการเรียกร้ององกรรมสิทธิ์ใดๆซึ่งทางแก้ไขเฉพาะหน้าสำหรับชาวต่างชาติที่จำเป็นต้องใช้ชื่อภรรยาหรือแฟนในการถือครองกรรมสิทธิ์คือ ให้ชาวต่างชาติคนนั้นๆ ทำสัญญาเช่าระยะยาว เช่น ทำสัญญาเช่า 30 ปีกับบ้านหลังนั้นก็จะทำให้มีสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ในระยะยาวถึงแม้จะไม่ได้ถือครองกรรมสิทธิ์ก็ตามหากจะขายต่อก็จะขายยากเนื่องจากติดสัญญาเช่าระยะยาว

1.2 ชาวต่างชาติสามารถกู้ซื้อบ้านในประเทศไทยได้หรือไม่?
การได้มาซึ่งที่ดินของคนต่างด้าว ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
  1. นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท
  2. ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยไม่เกิน 1 ไร่
  3. ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี
  4. เงื่อนไขที่กำหนดไว้กฎกระทรวงนำเงินมาลงทุนในประเภทธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศระยะเวลาลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ปี และที่ดินต้องอยู่เขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยาเขตเทศบาลแนะนำให้ดูระเบียบกรมที่ดินเกี่ยวกับการได้ซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวกรณีมีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวจำเป็นต้องซื้อบ้านพักอาศัย ระเบียบกรมที่ดินได้เปิดช่องทางให้คนไทยที่มีคู่สมรสเป็นคนต่างด้าวสามารถซื้อที่ดินพร้อมบ้านโดยคู่สมรสต่างด้าวต้องรับรองว่าเงินที่นำมาซื้อที่ดินและบ้านเป็นทรัพย์สินส่วนตัวของคนไทย ดังนั้นเมื่อคนต่างชาติไม่สามารถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้จึงไม่สามารถกู้เงินซื้อบ้านได้
1.3 ข้อจำกัดการถือครองอสังหาฯของต่างชาติ
ปกติแล้วการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติจะมีการดำเนินการในลักษณะของบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยและนิติบุคคลสัญชาติไทยกรณีของบุคคลธรรมดาจะให้ผู้ที่มีความสัมพันธ์กับตนเป็นผู้ถือครองแทนส่วนกรณีการถือครองโดยนิติบุคคลจะถือครองโดยการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทและมีชาวต่างชาติถือหุ้น 49% ส่วนอีก 51% ถือโดยคนสัญชาติไทยหรือนิติบุคคลสัญชาติไทยและในนิติบุคคลดังกล่าวก็อาจมีชาวต่างชาติถือหุ้นด้วยทำให้สัดส่วนจริงของชาวต่างชาติจะถือหุ้นเกินกว่า 49% รัฐบาลจึงได้เสนอให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวเพื่อแก้ปัญหานอมินีซึ่งจะอนุญาตให้นักลงทุนต่างชาติมีสิทธิเช่าอสังหาริมทรัพย์ในไทยได้สูงสุดเพียง 30 ปีเท่านั้น ข้อเสนอดังกล่าวส่งผลให้ชาวต่างชาติที่เป็นเจ้าของรวมถึงผู้ที่มีแผนจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ในไทยพากันวิตกกังวลเป็นอันมากแต่อย่างไรก็ดีสำหรับการเช่าที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมในประเทศไทย ตามพ.ร.บ.การที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 เอื้อประโยชน์ให้กับชาวต่างชาติไม่น้อย เพราะสามารถเช่าได้ไม่เกิน 50 ปีและสามารถตกลงต่อระยะเวลาเช่าได้อีกไม่เกิน 50 ปี ซึ่งเท่ากับว่าสามารถเช่าได้เกือบ 100 ปีอยู่แล้วเพียงแต่อาจต้องทบทวนเป็นกรณีไปก็คือ
  1. พ.ร.บ.การที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมพ.ศ. 2542 ควรแก้ไขเพิ่มเติมให้ครอบคลุมกลุ่มธุรกรรมประเภทอื่นด้วยหรือไม่
  2. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.การที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 ให้ครอบคลุมถึงการเช่าที่ดินเพื่ออยู่อาศัยโดยควรกำหนดพื้นที่เป็นการเฉพาะเช่นเดียวกันและกำหนดกรอบของจำนวนพื้นที่ให้เหมาะสมด้วยหรือไม่
  3. แก้ไขพ.ร.บ.การจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 ให้การจัดสรรที่ดินครอบคลุมถึงวัตถุประสงค์ในการเช่าได้ด้วยเพราะปัจจุบันโครงการที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.การจัดสรรที่ดินไม่สามารถนำที่ดินไปให้เช่าได้ไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือชาวต่างชาติการแก้ไขเพิ่มเติมให้ครอบคลุมการเช่าจะมีผลดีในด้านการควบคุมพื้นที่ควบคุมจำนวน
  4. แก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.อาคารชุดให้คนต่างชาติสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ได้เกินกว่า 49% แต่อาจกำหนดเป็น 60% หรือ 70% โดยกำหนดเฉพาะพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งการลงทุนของชาวต่างชาติหรือแหล่งท่องเที่ยวเช่นเดียวกันโดยจำกัดจำนวนที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารชุดเพื่อมิให้เกิดการถือครองที่ดินโดยทางอ้อมการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของคนต่างชาติมีผลดีทั้งในด้านที่ทำให้นักลงทุนเกิดเชื่อมั่นส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ และก่อให้เกิดการจ้างแรงงานภายในประเทศ แต่ต้องกำหนดขอบเขตและมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน
1.4 ข้อควรรู้ในการขายห้องชุดให้กับคนต่างชาติ
เนื่องจากการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์บางอย่างเช่น คอนโดมิเนียมนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะในหมู่ผู้ซื้อที่เป็นคนไทยเท่านั้นการมีความรู้พื้นฐานในการที่จะทำการขายให้กับผู้ซื้อที่เป็นชาวต่างชาติเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่บรรดานักขายไม่ว่าจะมืออาชีพหรือมือสมัครเล่นควรทราบวันนี้กูรูด้านกฏหมายคนเก่งของเราจะมาเล่าสาระน่ารู้ในกรณีที่เราจะขายห้องชุดให้ชาวต่างชาติให้ฟังกัน
เป็นที่ทราบกันดีว่าคนต่างชาติหรือนิติบุคคลต่างด้าวมีสิทธิ์ซื้อและถือครองกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 49% ของจำนวนห้องชุดทั้งหมดของแต่ละอาคารชุดที่ได้จดทะเบียน ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติอาคารชุด(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542

การประกอบธุรกิจขายห้องชุดในอาคารชุดไม่ว่าจะเป็นห้องที่อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้างหรือก่อสร้างเสร็จแล้วจะนำไปจดทะเบียนอาคารชุดหรือก่อสร้างเสร็จแล้วและได้จดทะเบียนอาคารชุดแล้ว ล้วนเป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญาดังนั้นสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้ซื้อต้องมีข้อความเป็นภาษาไทยที่สามารถเห็นและอ่านได้ชัดเจนในที่นี้ผมขอแนะนำให้ผู้ประกอบธุรกิจควรจัดทำคำแปลสัญญาฉบับภาษาอังกฤษเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ซื้อซึ่งเป็นชาวต่างชาติได้อ่านก่อนตัดสินใจซื้ออย่างไรก็ตามข้อความในสัญญาอย่างน้อยจะต้องมีสาระสำคัญใจความโดยสรุปดังนี้:
  • ข้อสัญญาที่รับรองว่าผู้ประกอบธุรกิจมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือมีกรรมสิทธิ์ห้องชุดในอาคารชุดและผู้ลงนามในสัญญาเป็นผู้มีอำนาจลงนามผูกพันตามสัญญาโดยแนบเอกสารหลักฐานแสดงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินหรือกรรมสิทธิ์ห้องชุดแล้วแต่กรณี และการเป็นผู้มีอำนาจลงนามผูกพันตามสัญญาไว้ท้ายสัญญา
  • ข้อสัญญาที่แสดงว่า ที่ดินอาคารและห้องชุดในอาคารชุดมีภาระผูกพันกับสถาบันการเงิน หรือบุคคลใด
  • ตำแหน่งที่ดินเลขที่ของโฉนดที่ดิน จำนวนเนื้อที่ของที่ดินของโครงการแผนผังแสดงเขตที่ดินและที่ตั้งของอาคารชุด
  • ราคาขายต่อตารางเมตรและจำนวนพื้นที่ห้องชุดที่จะซื้อขาย
  • วัตถุประสงค์การใช้พื้นที่ทุกส่วนของอาคารชุดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องของห้องชุดในอาคารชุดรายการและขนาดของทรัพย์ส่วนกลางและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
  • ค่าภาษีเงินได้ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะและค่าอากรแสตมป์ในการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดนั้น ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้จ่ายส่วนค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมในห้องชุดนั้นผู้ประกอบธุรกิจและผู้ซื้อจะตกลงจ่ายเท่ากันก็ได้
1.5 เอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธิ์ ที่ดิน (ผู้ซื้อ)
ไม่ว่าจะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดหรือที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างก็ใช้เอกสารเหมือนกันต่างกันที่สำหรับห้องชุดจะต้องมีใบปลอดภาระหนี้ที่ออกโดยนิติบุคคลของอาคารชุดนั้นๆและในการเตรียมเอกสารเพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเพราะไปสำนักงานที่ดินทีนึงใช้เวลาค่อนข้างเยอะและต่างคนต่างเดินทางมาจากคนละที่หากเตรียมมาไม่ครบจะทำให้เสียเวลาทั้งวันหรืออาจทำให้ไม่ได้โอนกันเลยทีเดียวและโดยเฉพาะการมอบอำนาจในการขายมักจะเป็นปัญหามากที่สุดกรณีที่ลายเซ็นต์ของเจ้าของเดิมเซ็นต์ไม่เหมือนกับที่มอบอำนาจมาก็จะทำให้ไม่สามารถโอนได้เพราะทางที่ดินจะรักษาสิทธิ์และผลประโยชน์ของเจ้าของทรัพย์เนื่องจากว่าการขายเป็นการทำให้เจ้าของทรัพย์เสียผลประโยชน์ ส่วนการซื้อไม่เท่าไหร่เพราะว่าผู้ซื้อได้ประโยชน์ไปดังนั้นเรามาดูรายละเอียดของเอกสารทั้งกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลกันเลยครับโดยแยกเป็นผู้ซื้อและผู้ขาย

เอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธ์สำหรับบุคคลธรรมดาไทย(ผู้ซื้อ)
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อ และคู่สมรส (ถ้ามี) และเอกสารการเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
  2. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ซื้อหรือคู่สมรส (ถ้ามี)
  3. หนังสือยินยอมคู่สมรส (ถ้ามี)
  4. สำเนาใบทะเบียนสมรส (ถ้า มี)
  5. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
  6. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
เอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธ์ สำหรับบุคคลธรรมดาต่างด้าว (ผู้ซื้อ)
  1. สำเนาหนังสือเดินทาง
  2. หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (ธ.ต.3) หรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากในประเทศ (ธ.ต.40) หรือหนังสือรับรองจากธนาคารที่รับรองการโอนเงินหรือหลักฐานการแลกเปลี่ยนเงินเป็นเงินบาทหรือหลักฐานแบบสำแดงเงินตราต่างประเทศผ่านกรมศุลกากรหรือหลักฐานการถอนเงินบาทจากบัญชีเงินฝากในประเทศ (จากสมุดเงินฝาก)
  3. สำเนาบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าว (ซื้อห้องชุดได้โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานการโอนเงินหรือแสดงบัญชีเงินฝากธนาคาร) หรือ
  4. สำเนาใบสำคัญแสดงถิ่นที่อยู่ (RESIDENCE PERMIT) (ซื้อห้องชุดได้โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานการโอนเงินหรือแสดงบัญชีเงินฝากธนาคาร) 
  5. บัตรส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือเอกสารการได้รับการส่งเสริมการลงทุนของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
  6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
  7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบ อำนาจ
หมายเหตุ: บุคคลธรรมดาต่างด้าวเป็นบุคคลที่สามารถซื้อได้เฉพาะห้องชุดเท่านั้นสำหรับที่ดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไม่สามารถซื้อได้

เอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธ์ สำหรับนิติบุคคลไทย (ผู้ซื้อ)
  1. หนังสือรับรองนิติบุคคล อายุไม่เกิน 1 เดือน
  2. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น อายุไม่เกิน 1 เดือนและรายละเอียดในบัญชีรายชื่อของนิติบุคคลที่สามารถซื้อที่ดินหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างได้โดยไม่ต้องขออนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องมีบุคคลต่างด้าว ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนไม่ถึงร้อยละ 40 ของผู้ถือหุ้นทั้งหมดหรือผู้เป็นหุ้นส่วน
  3. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อและแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ซื้อ
  4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  5. หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
  6. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
  7. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
เอกสารประกอบการโอนกรรมสิทธ์ สำหรับนิติบุคคลต่างด้าว (ผู้ซื้อ)
  1. หนังสือรับรองของนิติบุคคลต่างด้าว (กรณีนิติบุคคลต่างด้าวจดทะเบียนในต่างประเทศ)
  2. หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์ (กรณีนิติบุคคลต่างด้าวจดทะเบียนในประเทศไทย)
  3. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (นิติบุคคลต่างด้าวจดทะเบียนในประเทศไทยอายุไม่เกิน 1 เดือน) (นิติบุคคลต่างด้าวจดทะเบียนในต่างประเทศไม่จำกัดอายุ)
  4. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัท ระบุวัตถุประสงค์ในการซื้อและแหล่งที่มาของเงินที่ใช้ซื้อ
  5. สำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มีอำนาจ
  6. หนังสือแสดงตัวอย่างลายมือชื่อกรรมการ
  7. หนังสือรับรองรายการหนังสือรับรองหนังสือมอบอำนาจ และลายมือชื่อกรรมการ จากโนตารีพลับบลิค (นิติบุคคลต่างด้าวจดทะเบียนในต่างประเทศ)
  8. หลักฐานการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศ (ธ.ต.3) หรือโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากในประเทศ (ธ.ต.40) หรือหนังสือรับรองจากธนาคารที่รับรองการโอนเงินหรือหลักฐานการแลกเปลี่ยนเงินเป็นเงินบาทหรือหลักฐานแบบสำแดงเงินตราต่างประเทศผ่านกรมศุลกากรหรือหลักฐานการถอนเงินบาทจากบัญชีเงินฝากในประเทศ (จากสมุดเงินฝาก) 
  9. เอกสารการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
  10. หนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน)
  11. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ
หมายเหตุ :นิติบุคคลต่างด้าวเป็นบุคคลที่ซื้อได้เฉพาะห้องชุดเท่านั้นสำหรับทีดินเปล่าหรือที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไม่สามารถซื้อได้

ข้อมูลโดย กรมที่ดิน อัพเดต พ.ศ. 2558


Source :
Land Code Act B.E.2479 (1936) as of November 2018. link
Property Law in Thailand : Land ownership link

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

     The Stock Exchange of Thailand (SET) is Thailand’s primary stock exchange. It was established in 1974 and is supervised by a Board of Governors. The Board consists of 11 Governors, with 5 appointed by the Securities and Exchange Commission (SEC), 5 elected by the SET member companies, and a full time president, who is appointed by the Board of Governors and serves as an ex-officio Board member.

     The SET considers applications from companies requesting listing on the Exchange, including ensuring applicants meet requirements as well as submit the correct documentation. It has also established information disclosure requirements for listed companies and monitors all trading activities involving listed securities. The Exchange’s regulations strictly prohibit insider trading and price manipulation of listed securities.

      Net clearing and book entry settlement are services handled by the Thailand Securities Depository Co., Ltd. (TSD), a subsidiary of the SET. The SET lists a wide range of equity and debt instruments. Listed securities include ordinary shares, preferred shares, bonds and debentures, warrants, covered warrants, derivative warrants and unit trusts.

More information is available through the SET website https://www.set.or.th

SET Members
       Currently, the SET has 39 member companies. Member companies must be securities companies permitted by the Ministry of Finance to conduct securities business in the category of securities brokerage.

SET Listed Companies
        All listed companies are publicly limited firms. Becoming a listed company not only allows a firm to gain access to development capital, but also allows shareholders to benefit from investment liquidity and enjoy dividend income as a result of revenue or profit growth at the companies they invest in.

Foreign Shareholding Limits
       On 3 March 2000 the Foreign Business Act B.E. 2542 (1999) came into effect to relax foreign ownership limits in certain industries, including securities industries. As a result, a securities company with foreign investors holding up to 100% shareholding may engage in the security brokerage business without any restrictions. However, if the securities company operates any other type of securities business, such as dealing, underwriting, investment advisory services, mutual fund or private fund management and securities lending and borrowing, such company must seek approval from the Director-General of Commercial Registration Department, Ministry of Commerce.

The Securities and Exchange Commission (SEC)
       The SEC was established on the promulgation of the Securities and Exchange Act B.E. 2535 in 1992 with the objective of developing and supervising the Thai capital market in a fair, efficient and transparent manner. This includes the primary market, the secondary market, securities businesses, market participants and the prevention of unfair securities trading practices. Further information about the SEC is available on its website at https://www.sec.or.th



Source :
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย link

Select your options

ลิขสิทธิ์

ลิขสิทธิ์ หมายถึง สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทําการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้ สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่นโดยงานที่สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมาย ลิขสิทธิ์ให้คุ้มครอง โดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองแก่งานสร้างสรรค์ 9 ประเภทตามที่กฎหมายกำหนด ได้แก่
   1. งานวรรณกรรม (หนังสือ จุลสาร สิ่งพิมพ์ คำปราศรัย โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ฯลฯ)
   2. งานนาฎกรรม (ท่ารำ ท่าเต้น ฯลฯ)
   3. งานศิลปกรรม (จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ ภาพถ่าย ศิลปประยุกต์ ฯลฯ)
   4. งานดนตรีกรรม (ทำนอง ทำนองและเนื้อร้อง ฯลฯ)
   5. งานสิ่งบันทึกเสียง (ซีดี) 
   6. งานโสตทัศนวัสดุ (วีซีดี ดีวีดี ที่มีภาพหรือมีทั้งภาพและเสียง)
   7. งานภาพยนตร์ 
   8. งานแพร่เสียงแพร่ภาพ 
   9. งานอื่นใดในแผนกวรรณคดี วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ

การแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา มิได้ เป็นการรับรองสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์แต่อย่างใด แต่เป็นเพียงการแจ้งต่อหน่วยงานราชการว่าตนเองเป็นเจ้าของสิทธิ์ในผลงานลิขสิทธิ์ที่แจ้งไว้เท่านั้น โดยผู้แจ้งต้องรับรองตนเองว่าเป็นเจ้าของผลงานที่นำมาแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ และหนังสือรับรองที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาออกให้ ก็มิได้รับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์แต่อย่างใด หากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้แจ้งจำเป็นต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นเอง

วิธีดำเนินการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์    
   1. การกรอกข้อมูลและระบุรายละเอียดต่างๆ 
    (1) ชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ระบุชื่อ สัญชาติ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือนิติบุคคล (แล้วแต่กรณี) และที่อยู่ของเจ้าของลิขสิทธิ์
    (2) ชื่อตัวแทน กรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ต้องการมอบอำนาจให้กับผู้รับมอบอำนาจมาดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับการรับแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์รวมทั้งระบุถึงขอบเขตอำนาจของผู้รับมอบอำนาจ โดยให้ระบุ ชื่อ สัญชาติ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือนิติบุคคล (แล้วแต่กรณี) และที่อยู่ของผู้รับมอบอำนาจ
    (3) สถานที่ติดต่อในประเทศไทย ให้ระบุสถานที่และเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อเจ้าของสิทธิหรือตัวแทน เพื่อสะดวกในการติดตามเอกสาร และผลงานกรณีเอกสารและผลงานไม่ครบถ้วน
    (4) ชื่อผู้สร้างสรรค์หรือนามแฝง ให้ระบุชื่อ สัญชาติ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือนิติบุคคล ที่อยู่ผู้สร้างสรรค์ นามแฝง กรณีผู้สร้างสรรค์เป็นนิติบุคคลให้ระบุ วัน เดือน ปี ที่จดทะเบียนนิติบุคคล และกรณีที่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิตแล้วให้ระบุ วัน เดือน ปี ที่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
    (5) ชื่อผู้สร้างสรรค์ร่วมหรือนามแฝง ให้ระบุชื่อ สัญชาติ หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนหรือนิติบุคคล ที่อยู่ของผู้สร้างสรรค์หรือนามแฝง กรณีมีผู้สร้างสรรค์ร่วมมากกว่า 1 คน ให้ระบุในช่องนี้ กรณีผู้สร้างสรรค์ร่วมเป็นนิติบุคคล ให้ระบุ วัน เดือน ปี ที่จดทะเบียนนิติบุคคล และกรณีที่ผู้สร้างสรรค์ร่วมเสียชีวิตแล้ว ให้ระบุ วัน เดือน ปี ที่ผู้สร้างสรรค์เสียชีวิต
    (6) ชื่อผลงานให้ระบุชื่อผลงานที่สะกดถูกต้อง เพื่อประโยชน์ในการระบุในหนังสือรับรองการแจ้งข้อมูล
    (7) ประเภทของงาน ให้ระบุประเภทของงานและลักษณะงานที่ประสงค์จะยื่นแจ้งข้อมูลพร้อมระบุผลงานที่ยื่นประกอบคำขอ เช่น หนังสือ 1 เล่ม หรือแผ่นซีดี 1 แผ่น ฯลฯ เป็นต้น 
    (8) ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ให้ระบุว่าเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์โดยวิธีใด เช่น เป็นผู้สร้างสรรค์ ผู้ว่าจ้าง ผู้รับจ้าง นายจ้าง หรือผู้รับโอนลิขสิทธิ์ ฯลฯ เป็นต้น
    (9) ลักษณะการสร้างสรรค์ ให้ระบุว่า เป็นผู้สร้างสรรค์ขึ้นเองทั้งหมด สร้างสรรค์บางส่วน โดยระบุว่ามีส่วนใดบ้าง หรือเป็นกรณีอื่น ๆ เช่น เป็นผู้รวบรวมผลงาน หรือผู้ดัดแปลงผลงาน ฯลฯ 
    (10) สถานที่สร้างสรรค์ ให้ระบุว่า การสร้างสรรค์ผลงานกระทำในประเทศใด
    (11) ปีที่สร้างสรรค์ ให้ระบุปีที่ทำการสร้างสรรค์ผลงาน
    (12) การโฆษณางาน ให้ระบุ วัน เดือน ปี และประเทศที่มีการโฆษณาครั้งแรก โดยการทำสำเนางานออกจำหน่ายโดยความยินยอมของผู้สร้างสรรค์และสำเนางานมีจำนวนมากพอสมควร กรณียังไม่มีการโฆษณางานให้ระบุโดยทำเครื่องหมายในช่องยังไม่ได้โฆษณา
    (13) การแจ้ง/จดทะเบียนลิขสิทธิ์ในต่างประเทศ ให้ระบุว่าเคยแจ้ง/จดทะเบียนลิขสิทธิ์ในต่างประเทศหรือไม่ โดยให้ทำเครื่องหมายลงในช่องการแจ้งหรือจดทะเบียน (แล้วแต่กรณี)
    (14) การอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์/โอนลิขสิทธิ์ ให้ระบุเครื่องหมายลงในช่องว่าเคยอนุญาต/โอนลิขสิทธิ์หรือไม่ เช่น หากไม่เคยอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์/โอนลิขสิทธิ์ ให้ทำเครื่องหมายในช่องไม่เคยอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ลิขสิทธิ์หรือโอนลิขสิทธิ์ในงานของตน หากเคยอนุญาตให้ใช้ลิขสิทธิ์/โอนลิขสิทธิ์ ให้ระบุว่าอนุญาตให้ใช้หรือโอนลิขสิทธิ์แก่ใคร เมื่อใด เป็นการอนุญาตโอนลิขสิทธิ์โดยให้สิทธิทั้งหมดหรือบางส่วน และมีระยะเวลาในการอนุญาต/โอนลิขสิทธิ์เท่าใด 
    (15) การเผยแพร่ข้อมูลลิขสิทธิ์ ให้ระบุว่าอนุญาตให้คนอื่นตรวจดูเอกสารในแฟ้มคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์และผลงานหรือไม่
    (16) การลงนามในคำขอให้เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทนเป็นผู้ลงนาม

   2. ใบต่อท้ายคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ในกรณีที่ข้อมูลที่กรอกในคำขอ (ลข.01) มีจำนวนมาก และผู้ขอไม่อาจกรอกข้อมูลได้ครบถ้วนในแต่ละข้อ เช่น ในกรณีที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวแทน ผู้สร้างสรรค์ร่วมมากกว่า 1 คน ผู้ขอสามารถระบุข้อมูลเพิ่มเติมได้ในใบต่อท้ายฯ ผู้ลงนามในใบต่อท้าย คือ เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทน

   3. แบบแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ ให้ระบุวิธีการและขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อหรือแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงาน ผู้ลงนามในแบบแสดงรายละเอียดการสร้างสรรค์ผลงานโดยย่อ คือ เจ้าของลิขสิทธิ์หรือตัวแทน

   4. หนังสือรับรองความเป็นเจ้าของงานลิขสิทธิ์ ให้ระบุชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ที่อยู่ ทะเบียนนิติบุคคล (ถ้ามี) ประเภทของงานลิขสิทธิ์ ชื่อผลงาน และระบุวันที่ยื่นคำขอแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ผู้ลงนามในหนังสือรับรองความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ คือ เจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น

   5. ผลงานลิขสิทธิ์ที่ใช้ยื่นประกอบคำขอ 
  • วรรณกรรม เช่น ให้ใช้สำเนาปกหนังสือ และสำเนาเอกสาร 5 หน้าแรก และ 5 หน้าสุดท้ายหรือแผ่นซีดีที่บรรจุผลงาน (ถ้ามี)
  • โปรแกรมคอมพิวเตอร์  เช่น  สำเนา Source Code จำนวน 5 หน้าแรกและ 5 หน้าสุดท้าย หรือส่งซีดีหรือแผ่นดิสก์บรรจุโปรแกรมคอมพิวเตอร์
  • นาฏกรรม เช่น แผ่นวีซีดี ภาพการแสดงพร้อมบรรยายประกอบท่าทางทุกขั้นตอน ฯลฯ
  • ศิลปกรรม เช่น ภาพถ่ายผลงาน หรือภาพร่างผลงาน หรือภาพพิมพ์เขียว ทั้งนี้หากเป็นงานประติมากรรม ให้ใช้ภาพถ่ายผลงานทั้ง 4 ด้าน [ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านหน้า และด้านหลัง]
  • สิ่งบันทึกเสียง เช่น แผ่นซีดี  ฯลฯ
  • โสตทัศนวัสดุ เช่น แผ่นวีซีดี แผ่นดีวีดี ฯลฯ
  • ภาพยนตร์ เช่น แผ่นวีซีดี แผ่นดีวีดี ฯลฯ
  • ดนตรีกรรม เช่น แผ่นซีดีที่บรรจุผลงาน เอกสารเนื้อเพลงหรือโน้ตเพลง ฯลฯ
  • งานแพร่เสียงแพร่ภาพ เช่น แผ่นซีดี แผ่นวีซีดี แผ่นดีวีดี ฯลฯ
  • งานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ เช่น ภาพถ่ายของผลงาน แผ่นซีดีบรรจุผลงาน ฯลฯ 
   
6. เอกสารที่ใช้ประกอบการแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
    (1) สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)
    (2) สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล ที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือน ของเจ้าของลิขสิทธิ์ (กรณีเป็นนิติบุคคล)
    (3) หนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (กรณีมีการมอบอำนาจ)
    (4) หน่วยงานหรือองค์กรของรัฐบาลใช้สำเนาหนังสือแต่งตั้งผู้บริหารหน่วยงานหรือองค์กรฯ รวมทั้งสำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นคำขอ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
    (5) มูลนิธิใช้สำเนาหนังสือการจดทะเบียนตั้งมูลนิธิ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง

   7. ช่องทางในการยื่นแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์
    (1) กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
    (2) สำนักงานพาณิชย์จังหวัดทุกจังหวัด
    (3) ทางไปรษณีย์
    (4) สถานที่ที่กรมกำหนด เช่น ศูนย์บริการร่วมกระทรวงพาณิชย์ หน่วยบริการเคลื่อนที่ (MOBILE UNIT) ตามสถานที่ต่างๆ (มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ)


ข้อมูลโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา อัพเดตวันที่ 11 ตุลาคม 2559


Source :
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: ขั้นตอน ระยะเวลาและส่วนงานที่รับผิดชอบ-ลิขสิทธิ์ link
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: แบบฟอร์ม ตัวอย่างและ คู่มือการกรอก – ลิขสิทธิ์ link
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: กฎหมายที่เกี่ยวข้อง link

สิทธิบัตร

สิทธิบัตร (Patent) หมายถึง หนังสือสําคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention)หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกําหนด เป็นสิทธิพิเศษที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้น หรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จําหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะ เวลาหนึ่ง การประดิษฐ์ (Invention) หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับ ลักษณะองค์ ประกอบ โครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษา หรือปรับ ปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทําให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิม และ เน้นการประดิษฐ์ที่มีลักษณะของการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่ไม่สามารถคิดค้นขึ้นโดยง่าย เช่น กลไกของเครื่องยนต์ ยารักษาโรค, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ให้เน่าเสียเร็ว เกินไป เป็นต้น

อนุสิทธิบัตร (Petty Patent) หมายถึง หนังสือสําคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมาก หรือเป็นการประดิษฐ์ คิดค้นเพียงเล็กน้อย และมีประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษา หรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น หรือทําให้เกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ ที่แตกต่างไป จากเดิม เช่น กลไกของเครื่องยนต์ ยารักษาโรค, วิธีการในการเก็บรักษาพืชผักผลไม้ไม่ ให้เน่าเสียเร็วเกินไป เป็นต้น

สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร หรือ PCT
PCT ย่อมาจาก Patent Cooperation Treaty เป็นความตกลงระหว่างประเทศสำหรับการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ในประเทศที่เป็นสมาชิก เพื่ออำนวยความสะดวก และลดภาระของผู้ขอรับสิทธิบัตร แทนที่จะต้องไปยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในประเทศต่าง ๆ แต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครอง โดยสามารถที่จะยื่นคำขอที่สำนักงานสิทธิบัตรภายในประเทศ ของตน สำนักงานสิทธิบัตรก็จะส่งคำขอไปดำเนินการตามขั้นตอนของระบบ PCTที่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)
ระบบ PCT นี้ไม่ได้เป็นระบบการรับจดทะเบียนสิทธิบัตรที่จะส่งผลให้ประเทศที่เป็นสมาชิกต้องรับจดทะเบียนตามไปด้วย เนื่องจาก ระบบ PCT จะมีการดำเนินการในขั้นตอนต้น ๆ ของการขอรับสิทธิบัตรเท่านั้น ไม่มีการรับจดทะเบียนแต่อย่างใด การรับจดทะเบียนสิทธิบัตร PCT เป็นอำนาจอธิปไตยของแต่ละประเทศที่ผู้ขอประสงค์จะขอความคุ้มครอง ซึ่งจะมีการตรวจสอบตามขั้นตอนและเงื่อนไขของกฎหมายภายในประเทศนั้น ๆ ก่อนรับจดทะเบียนสิทธิบัตรต่อไป ซึ่งประเทศไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2552 ถือเป็นสมาชิกลำดับที่ 142

ความเหมือนและความแตกต่าง ของสิทธิบัตร /อนุสิทธิบัตร

event__image_1

ประเภทของคุ้มครองสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร

event__image_2

เงื่อนไขในการขอรับ สิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร
  1. เป็นการประดิษฐ์ขึ้นใหม่ กล่าวคือ การประดิษฐ์นั้นยังไม่เคยมีการจําหน่าย หรือใช้แพร่หลายในประเทศไทย ก่อนวันยื่นขอหรือยังไม่เคยมีการเปิดเผยสาระสําคัญของการประดิษฐ์นั้นก่อนวันที่ยื่นขอหรือยังไม่เคยมี การเปิดเผยสาระสําคัญของการประดิษฐ์นั้นก่อนวันที่ยื่นขอทั้งในหรือต่างประเทศก่อนวันยื่นคําขอ (เว้นแต่เป็นการแสดงผลงานในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศหรือการแสดงต่อสาธารณชนที่หน่วยราชการจัดขึ้น แต่ต้องมาขอยื่นรับสิทธิบัตรภายใน 12 เดือน นับแต่วันเปิดแสดงงานพร้อมแนบหนังสือรับรองของผู้จัดงานแสดง)
  2. มีขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้น (เฉพาะสิทธิบัตรการประดิษฐ์) กล่าวคือไม่เป็นการประดิษฐ์ที่สามารถทําได้ง่ายโดยผู้มีความรู้ในระดับสามัญสําหรับงานประเภทนั้น หรืออาจพูดได้ว่ามีการแก้ไขปัญหาทางเทคนิคของการประดิษฐ์ที่มีมาก่อน 
  3. สามารถประยุกต์ใช้ในงานทางอุตสาหกรรมได้

การประดิษฐ์ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้
  1. จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืช หรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช
  2. กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  3. ระเบียบข้อมูลสําหรับการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์ 
  4. วิธีการวินิฉัย บําบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ 
  5. การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน

ข้อมูลโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา อัพเดตวันที่ 11 ตุลาคม 2559


Source :
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: ระบบสืบค้นสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตร link
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: การขอรับสิทธิบัตรระหว่างประเทศภายใต้สนธิสัญญา PCT link
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: คู่มือตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร ฉบับปี 2562 link
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: คู่มือตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร (เฉพาะด้านเคมี และเภสัชภัณฑ์) link
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: รายการประกาศโฆษณาสิทธิบัตรยา ตั้งแต่ปี 2542 link

เครื่องหมายการค้า

เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ เป็นเครื่องหมายที่ให้ความคุ้มครองตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 แก้ไข เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2543 และ พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 มี 4 ประเภท ดังต่อไปนี้

เครื่องหมายการค้า (TRADE MARK) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ ใช้เครื่องหมายนั้น แตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น บรีส มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น

เครื่องหมายบริการ (SERVICE MARK) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่าง กับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น

เครื่องหมายรับรอง (CERTIFICATION MARK) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองหรือจะใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เซลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรํา ฮาลาล (HALAL) เป็นต้น

เครื่องหมายร่วม (COLLECTIVE MARK) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกัน หรือโดยสมาชิกของ สมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด เป็นต้น

การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรอง และเครื่องหมายร่วม

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการเครื่องหมายรับรอง เครื่องหมายร่วม มีขั้นตอนโดยสังเขป ดังนี้
1. การตรวจค้น ก่อนยื่นคำขอจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนควรตรวจค้นเครื่องหมายของตนที่ประสงค์จะยื่นขอจดทะเบียนว่าเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วหรืออยู่ระหว่างขอจดทะเบียนหรือไม่ โดยตรวจค้นด้วยตนเองได้ที่กลุ่มบริการตรวจรับคำขอ ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ ต้องชำระค่าธรรมเนียม 100 บาท ต่อชั่วโมง หรือทางอินเตอร์เน็ตผ่าน ระบบเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา  อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้ขอจดทะเบียนยื่นคำขอจดทะเบียนแล้ว เจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบเครื่องหมายและพิจารณาคำขอจดทะเบียนโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

2. การยื่นคำขอจดทะเบียน ผู้ขอจดทะเบียนจะต้องจัดเตรียมคำขอจดทะเบียน (แบบ ก.01) โดยกรอกแบบคำขอให้ครบถ้วนโดยการพิมพ์ และแนบหลักฐานประกอบคำขอ (โปรดดูหัวข้อเอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า) พร้อมชำระค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอจดทะเบียนสินค้าหรือบริการ อย่างละ 500 บาท สามารถยื่นคำขอได้ 4 ช่องทาง คือ 1) กลุ่มบริการตรวจรับคำขอ ชั้น 3 กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ 2) สำนักงานพาณิชย์จังหวัด 3) ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ และ 4) ทางอินเตอร์เน็ตผ่านระบบเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา

3. การเตรียมคำขอและเอกสารประกอบ
  3.1 คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เครื่องหมายบริการ เครื่องหมายรับรองและเครื่องหมายร่วมให้ใช้แบบ ก. 01
  3.2 สำเนาคำขอจดทะเบียน (แบบ ก. 01) จำนวน 5 ฉบับ
  3.3 รูปเครื่องหมายที่ขอจดทะเบียน ขนาดไม่เกิน 5 X 5 เซนติเมตร จำนวน 5 รูป ทั้งนี้ หากเกินต้องชำระค่าธรรมเนียม เซนติเมตรละ 100 บาท
  3.4 บัตรประจำตัวของเจ้าของ
    3.4.1 บุคคลธรรมดา ให้ใช้สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง จำนวน 1 ฉบับ
    3.4.2  นิติบุคคล ให้ใช้ต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน จำนวน 1 ฉบับ
  3.5 หนังสือตั้งตัวแทน หรือหนังสือมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทนเจ้าของ)
    3.5.1 กรณีการตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจได้กระทำในประเทศไทย ให้แนบเอกสาร ดังนี้
        (1) สำเนาหนังสือตั้งตัวแทนหรือหนังสือมอบอำนาจ (แบบ ก. 18)
        (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ หรือต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือนของตัวแทน แล้วแต่กรณี
        (3) หากผู้ตั้งตัวแทนหรือผู้มอบอำนาจมิได้มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ให้แนบสำเนาหนังสือเดินทาง หรือสำเนาหนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ชั่วคราว หรือหลักฐานอื่นที่แสดงให้เห็นว่าในขณะตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจ ผู้นั้นได้เข้ามาในประเทศไทยจริง
    3.5.2 กรณีการตั้งตัวแทนหรือมอบอำนาจได้กระทำในต่างประเทศ ให้แนบเอกสารดังนี้
        (1) สำเนาหนังสือตั้งตัวแทนหรือหนังสือมอบอำนาจที่มีคำรับรองลายมือชื่อ โดยเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทย หรือหัวหน้าสำนักงานสังกัดกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งประจำอยู่ ณ ประเทศที่ผู้ตั้งตัวแทนหรือผู้มอบอำนาจมีถิ่นที่อยู่ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้กระทำการแทนบุคคลดังกล่าว หรือมีคำรับรองของบุคคลซึ่งกฎหมายของประเทศนั้น ให้มีอำนาจรับรองลายมือชื่อ
        (2) สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาบัตรประจำตัวอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ หรือต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือนของตัวแทน แล้วแต่กรณี

ข้อพึงระวัง 
1. กรณีผู้ขอจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล (อาทิ บริษัท ห้างหุ้นส่วน) ให้ระบุชื่อเจ้าของในแบบ ก.01 เป็นชื่อนิติบุคคล มิใช่ชื่อกรรมการของนิติบุคคลดังกล่าว
2. หากมีการดำเนินการในนามของนิติบุคคล เช่น การยื่นคำขอจดทะเบียน การมอบอำนาจ เป็นต้น ต้องมีการลงลายมือชื่อโดยกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและประทับตราสำคัญตามข้อกำหนดในหนังสือรับรองนิติบุคคล
3. กรณีเป็นกลุ่มแม่บ้าน วิสาหกิจชุมชน หรือองค์กรอื่นใด ที่ไม่ใช่นิติบุคคลหากต้องการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จะต้องยื่นในนามประธานกลุ่มหรือผู้แทนที่กลุ่มมอบหมายให้ดำเนินการเป็นเจ้าของในนามของบุคคลธรรมดา เช่น นางทรัพย์สิน ปัญญา (ประธานกลุ่มแม่บ้าน.................) เป็นต้น พร้อมแนบรายงานการประชุมของกลุ่มที่มีการมอบหมายให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว
4. หากนำลายมือชื่อของบุคคลอื่นมาเป็นเครื่องหมายการค้า จะต้องมีหนังสือให้ความยินยอมประกอบคำขอจดทะเบียนด้วย
5. หากนำภาพของผู้ขอจดทะเบียนมาเป็นเครื่องหมายการค้า ผู้ขอจะต้องทำหนังสือแสดงเจตนาที่จะใช้ภาพของตนเองเป็นเครื่องหมายการค้าด้วย กรณีนำภาพของบุคคลอื่นมาใช้จะต้องมีหนังสืออนุญาตจากเจ้าของให้ใช้ภาพดังกล่าว หากเป็นภาพของบุคคลที่ตายแล้วจะต้องมีหนังสืออนุญาตจากบุพการี ผู้สืบสันดาน และคู่สมรส (ถ้ามี) ให้ใช้ภาพดังกล่าว
6. การระบุรายการสินค้าและบริการในคำขอจดทะเบียน (แบบ ก.01) ผู้ขอควรดูจากรายการสินค้าและบริการที่กรมฯ ได้จัดทำไว้เป็นหลัก โดยดูจาก รายการสินค้าและบริการ
7. หากเครื่องหมายที่ยื่นขอจดทะเบียนเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ระบุคำอ่านและคำแปลตามพจนานุกรมให้ครบถ้วน สำหรับภาษาจีนให้ระบุคำอ่านและคำแปลทั้งตามสำเนียงจีนกลางและแต้จิ๋ว


ข้อมูลโดย กรมทรัพย์สินทางปัญญา อัพเดตวันที่ 14 กันยาน 2559


Source :
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: กระบวนการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า link
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: ค่าธรรมเนียม link
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: กฎหมายที่เกี่ยวข้อง link
กรมทรัพย์สินทางปัญญา: ระบบจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (Trading e-filing) link

Thailand Trust Mark

Article Applying for Thailand Trust Mark
Entrepreneurs are able to apply to register for using Thailand Trust Mark symbol (TTM) in order to add distinctive value to Thai products and services promoted by Department of International Trade Promotion, Ministry of Commerce.

TTM offers the best goods and services of quality Thai products and services, making it a more convenient and worthwhile shopping experience. 
For manufacturers, TTM brings more opportunities to global market in less time and helps earn trust. Moreover, the exclusivity of TTM raises the bar and encourages the industry to strive for excellence.

Qualifications
  1. The applicant has to be a juristic person that has registered as a member of the Department of International Trade Promotion’s Exporter List. Type of members could be categorized into 5 groups:  Exporter Lists (EL), Pre-Exporter (Pre-EL), Trading Company (TDC), Pre-Trading Company (Pre-TDC) and DITP SMEs Club. Moreover, export value of the past 5 years should be the average per year not less than 3 million baht. Further information could be found from topic of the participation of export activities or here.
  2. The applicant has been certified with local and/or international standards for the applicant’s products and services in accordance with the regulations or other standards that determine the quality of the products. See Lists of names’ standard here
  3. The applicant’s products and services must be made in Thailand. (The products are produced locally or services are provided locally.)
  4. The applicant has no record of bad business conduct, for example, intellectual property infringement or producing pirated and counterfeit goods and brands.
  5. The applicant should have following good image and business/corporate value:
          5.1) The applicant has been certified with the standards of Environmental Management "Green Industry, Thailand level 2 upward” by Ministry of Industry, Thailand or received ISO 14001.
          5.2) The applicant has been received Thailand Labor Standard Certification (TLS 8001-2553) at least in a basic level. (Applicants should allow a working group to visit corporate)
          5.3) The applicant has participated in an activity that relates to Corporate Social Responsibility (CSR) both CSR in process & CSR after process

Information about Thailand Standard Certification and International Standard Certification of associations, corporates, and business units in foreign countries or other well-known rewards could be used for applying for Thailand Trust Mark
  1. Food Industry, Agricultural products, Fresh fruit and vegetable and processed fruit and vegetable, Fresh sea food and processed seafood, Livestock products
  2. Heavy industry, Electrical appliances and electronics, Automotive products, Equipment and components, Construction goods, Plastic resin products, Mechanical products and components
  3. Livestyle industry, Furniture and parts, Tableware and kitchen goods, Toys goods, Gifts items, Home decoration and home textiles.
  4. Fashion industry, Gems and jewelry, leather goods and shoes, fashion goods and textile.
  5. Other industry, Medical instruments, Pharmaceutical products, Cosmetics products and Spa products.
  6. Medical services business
  7. Health promotion services business (Spa), Spa and Thai massage, Beauty services, Health services
  8. International education services business

Information by THAILAND TRUST MARK and Department of International Trade Promotion, Last Updated 17 May 2016


Source :
TTM: Applying for Thailand Trust Mark link
DITP: Member registration with Department of International Trade Promotion link

สอบถามข้อมูล

ติดต่อเราเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ การบริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยหรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ
ติดต่อเรา