การแก้ปัญหาล้มละลาย


ประเด็นสำคัญหลักๆ สำหรับการคุ้มครองนักลงทุนในกรณีของบริษัทมหาชนจำกัด ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนและบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะครอบคลุมในหัวข้อดังต่อไปนี้

กระบวนการฟ้องล้มละลายและกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ในกรณีของธุรกิจประสบปัญหาทางธุรกิจ เพื่อให้นักลงทุนมีความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอน ระยะเวลา และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการด้านกระบวนการฟ้องล้มละลาย และกระบวนการฟื้นฟูกิจการ

ตัวอย่างที่ใช้อ้างอิง:

- ลูกหนี้ที่เป็นบริษัทไทยซึ่งทำธุรกิจโรงแรมประสบปัญหารายได้ลดน้อยลง

- มีเจ้าหนี้มี 2 ประเภทคือ

1 ธนาคารมีหนี้อยู่ 74% ของหนี้สินทั้งหมด ซึ่งลูกหนี้ใช้อสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดทำประกัน และมูลค่าหนี้นั้นเท่ากับมูลค่าทางตลาดของอสังหาริมทรัพย์ลูกหนี้

2 เจ้าหนี้อื่นๆ อีก 26% (ผู้จัดส่งวัตถุดิบ ลูกจ้าง) ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน

- ถ้ากิจการถูกขายในฐานะธุรกิจที่ดำเนินการต่อได้มูลค่าจะอยู่ที่ 100% ของมูลค่าตลาด แต่ถ้าถูกนำสินทรัพย์ไปแยกขายในราคาจะอยู่ที่ 70% แนวโน้มการแก้ไขปัญหาเรื่องรายจึงเป็นการฟื้นฟูกิจการ หรือการขายทอดกิจการที่ยังมีการดำเนินการต่อ

- ระยะเวลาที่ระบุเป็นค่าเฉลี่


Select your options

ยื่นฟ้อง

  1. เป็นเจ้าหนี้มีประกันที่บังคับคดีกับหลักประกันแล้วไม่พอชำระหนี้แต่สามารถยึดทรัพย์อื่นได้อีก เช่น เจ้าหนี้ผู้รับจำนองที่มีสัญญาพิเศษตกลงยกเว้นการปฏิบัติตาม ปพพ. มาตรา 733 และ
  2. ถ้าเจ้าหนี้ยอมสละหลักประกัน หรือตีราคาหลักประกันมาในฟ้องแล้วหักกับจำนวนหนี้ของตนลูกหนี้ยังเป็นหนี้อีกไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท (กรณีลูกหนี้เป็นบุคคลธรรมดา) หรือ 2,000,000 บาท (กรณีลูกหนี้เป็นนิติบุคคล)
      ระยะเวลาที่แสดงเป็นค่าเฉลี่ย โดยสถานการณ์ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังนี้
  • ประเภทของคดีมีทรัพย์หรือไม่มีทรัพย์
  • จำนวนเจ้าหนี้
  • ความร่วมมือของลูกหนี้ กรณีไม่มีการโต้แย้งคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
  • ระยะเวลาที่ขายทรัพย์สินได้


Source :
สำนักงานคดีล้มละลาย: การดำเนินคดีล้มละลาย link
กรมบังคับคดี: ขั้นตอนการบังคับคดีล้มละลาย link
ศาลล้มละลายกลาง: ดาวน์โหลดเอกสาร แบบฟอร์ม แบบพิมพ์ศาลล้มละลายกลาง link

ศาลรับคำร้องและไต่สวน

ถ้ามีมูลเหตุให้เชื่อว่าลูกหนี้พยายามถ่ายเททรัพย์สินเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทย์สามารถขอให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ชั่วคราวได้


Source :
ศาลล้มละลายกลาง: ระบบสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูลคดีล้มละลาย link

พิทักษ์ทรัพย์

เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

  • เป็นข้าราชการพลเรือนสังกัดกรมบังคับคดี กระทรวงยุติธรรม
  • เป็นผู้มีบทบาทหน้าที่ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของเจ้าหนี้ทั้งหมด
  • เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหน้าที่เรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกโดยเร็ว เพื่อปรึกษาว่าควรยอมรับคำขอประนอมหนี้ หรือจะขอให้ศาลพิพากษาให้ล้มละลาย โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โฆษณานัดประชุมในหนังสือพิมพ์รายวันไมม่น้อยกว่า 1 ฉบับ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่และลูกหนี้ทุกคนทราบ
  • เจ้าหนี้ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
  • ลูกหนี้ต้องมาให้การสอบสวนเกี่ยวกับกิจการทรัพย์สิน รวมทั้งมีสิทธิยื่นคำขอประนอมหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์


Source :
ศาลล้มละลายกลาง: ระบบสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูลคดีล้มละลาย link

ศาลไต่สวนและตัดสินให้ล้มละลาย

ประกาศนัดเจ้าหนี้และลูกหนี้ / ประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันไม่น้อยกว่า 1 ฉบับ


Source :
ศาลล้มละลายกลาง: ระบบสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูลคดีล้มละลาย link

ขายทรัพย์สินแบ่งให้แก่เจ้าหนี้


Source :
ศาลล้มละลายกลาง: ระบบสารสนเทศเพื่อการสืบค้นข้อมูลคดีล้มละลาย link

Select your options

ร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาล

event__image_1


Source :
ศาลล้มละลายกลาง: ดาวน์โหลดเอกสาร แบบฟอร์ม แบบพิมพ์คดี ฟื้นฟู link
กรมบังคับคดี: ขั้นตอนและกระบวนการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ link
ศาลล้มละลายกลาง: การขอฟื้นฟูกิจการ link
กรมบังคับคดี: แบบฟอร์มต่างๆ ของสำนักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ link

ศาลรับคำร้องและไต่สวน

event__image_1
เมื่อมีคำสั่งรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแล้ว ลูกหนี้จะได้รับความคุ้มครองจากสภาวะการพักชำระหนี้ (Automatic Stay) เพื่อให้กิจการของลูกหนี้สามารถดำเนินการต่อไปได้แต่ต้องอยู่ภายใต้กฏหมายฟื้นฟูกิจการ


Source :
กรมบังคับคดี: ระบบสอบถามสถานะคดี link

ศาลสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและตั้งผู้ทำแผน

event__image_1
คุณสมบัติผู้ทำแผนและผู้บริหารแผน (บุคคลธรรมดา)
     1.  มีสัญชาติไทย
     2.  มีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ในวันจดทะเบียน
     3.  สำเร็จการศึกษาอย่างน้อยระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
  • ผู้ทำแผน - สำเร็จการศึกษาด้านการเงิน การบัญชี หรือด้านกฏหมายและมีประสบการณ์ในการทำงานในด้านดังกล่าวไม่น้อยกว่าสามปี
  • ผู้บริหารแผน - มีความรู้ความสามารถในการบริหารธุรกิจ และมีประสบการณ์ในการบริหารธุรกิจไม่น้อยกว่าสามปี
     4.  ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศิลธรรมอันดี
     5.  ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
     6.  ไม่อยู่ในระหว่างต้องโทษจำคุก โดยคำพิพากษาให้จำคุณในขณะยื่นขอ
     7.  ไม่เคยต้องโทษจำคุก
     8.  ไม่เป็นบุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์


Source :
กรมบังคับคดี: ระบบสอบถามสถานะคดี link

ศาลให้ความเห็นชอบกับแผนฟื้นฟูและตั้งผู้บริหารแผน

event__image_1
ดำเนินการตามแผนให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี แต่ขยายได้ 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี

ผู้บริหารแผนมีหน้าที่
  • จัดการทรัพย์สินและหนี้สิน
  • บริหารกิจการของลูกหนี้
  • ขอแก้ไขแผนฟื้นฟุ
  • ชำระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ


Source :
กรมบังคับคดี: ระบบสอบถามสถานะคดี link

ดำเนินการตามแผนฟื้นฟู



Source :
กรมบังคับคดี: ระบบสอบถามสถานะคดี link

สอบถามข้อมูล

ติดต่อเราเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ การบริการเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยหรือสอบถามข้อมูลอื่น ๆ
ติดต่อเรา