การคุ้มครองผู้ลงทุน
ประเด็นสำคัญหลักๆ สำหรับการคุ้มครองนักลงทุนในกรณีของบริษัทมหาชนจำกัด ที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนและบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะครอบคลุมในหัวข้อดังต่อไปนี้
Select your options
งบการเงิน
นักลงทุนสามารถเข้าถึงข้อมูลของบริษัทมหาชนจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนและบริษัทจดทะเบียน ผ่านทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ ฯ และตลาดหลักทรัพย์ได้ดังต่อไปนี้
เงื่อนไข
- ต้องจัดส่งตามงวดเวลาที่กำหนด
- ต้องผ่านการตรวจสอบ หรือสอบทานจากผู้สอบบัญชีที่อยู่ในบัญชีรายชื่อที่ กลต. ให้ความเห็นชอบ
ประเภทข้อมูล
- ข้อมูลงบการเงินรายไตรมาส
- งบการเงินประจำปี
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
SET: กฏเกณฑ์แยกตามประมวล หมวดการเปิดเผยข้อมูล | link |
DBD: พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ | link |
SEC: พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 | link |
แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี
เงื่อนไข
- ส่งให้คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯ ภายใน 3 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
ประเภทข้อมูล
- แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1)
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
SET: แนวทางการเปิดเผยข้อมูลสำหรับการจัดการ บริษัท จดทะเบียน | link |
SEC: แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) | link |
DBD: พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ | link |
SEC: พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 | link |
รายงานประจำปี
เงื่อนไข
- ส่งผู้ถือหุ้นพร้อมหนังสือนัดประชุมสามัญประจำปี (ซึ่งการประชุมจะต้องจัดขึ้นภายใน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี)
- ส่งสำเนาให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ ฯ ไม่ช้ากว่าวันที่ส่งให้ผู้ถือหุ้นแต่ไม่เกิน 4 เดือนนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
ประเภทข้อมูล
- รายงานประจำปี (แบบ 56-2)
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
SET: การเปิดเผยข้อมูล | link |
DBD: พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ | link |
SEC: พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 | link |
ข่าวการเปลี่ยนแปลง / ธุรกรรมที่สำคัญ
- กรรมการที่มีส่วนได้เสียต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับส่วนได้เสียในธุรกรรมที่มีทั้งหมดต่อคณะกรรมการบริษัท
- รายงานเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นกับบริษัทต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ฯ โดยไม่ชักช้า
- จะต้องขออนุมัติจากผู้ถือหุ้น สำหรับรายการที่มีข้อกำหนดให้ต้องได้รับการอนุมัติ ตาม พ.ร.บ. บริษัทมหาชนฯ ก่อนดำเนินการธุรกรรมนั้นๆ โดยผู้มีส่วนได้เสียไม่มีสิทธิออกเสียง
- ให้เปิดเผยธุรกรรมสำคัญต่อสาธารณะตลาดหลักทรัพย์ หรือผู้ถือหุ้น
- ผู้ตรวจสอบอิสระ เช่น ผู้สอบบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ทบทวนธุรกรรมและให้ความเห็นก่อนที่จะดำเนินการ
ประเภทข้อมูล
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เช่น
- รายการซื้อขายสินทรัพย์สำคัญ
- รายการออกหลักทรัพย์เพิ่มทุน
- รายการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการ
- รายงานการครอบงำกิจการ
- การหยุดประกอบธุรกิจ
- การเปลี่ยนแปลงธุรกิจ / ผู้บริหาร
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
SET: ข้อมูลสำหรับ บริษัท จดทะเบียน | link |
DBD: พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ | link |
SEC: พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 | link |
Select your options
ความรับผิดชอบของกรรมการ
กรรมการมีขอบเขตควมรับผิดชอบดังต่อไปนี้
ผู้ถือหุ้นสามารถฟ้องร้องดำเนินคดีในนามตนเองหรือในนามบริษัทต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมได้ โดยใช้เสียงไม่ถึง 10%
ผู้ถือหุ้นสามารถฟ้องร้องกรรมการให้รับผิดต่อความเสียหายของบริษัทที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมได้ หากควาเมสียหายนั้นเกิดจากการที่กรรมการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ คงามระมัดระวังและความซื่อสัตย์สุจริต (Breach of fiduciary duties)
ผู้ถือหุ้นสามารถฟ้องร้องให้กลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติให้ประกอบธุรกรรมรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมได้ในทุกกรณีที่ทำให้ผู้ถือหุ้นไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือเสียหาย
ศาลสามารถยับยั้งธุรกรรมที่ทำให้ผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหาย ซึ่งเกิดจากการที่กรรมการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่
กรรมการต้องดำเนินการชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดแก่บริษัท หากพิสูจน์ได้ว่าผิดจริงตามที่ผู้ถือหุ้นฟ้องร้อง
กรรมการต้องจ่ายคืนผลกำไรจากธุรกรรมหากพิสุจน์ได้ว่าผิดจริง
ผู้ถือหุ้นสามารถดำเนินคดีกับกรรมการได้ซึ่งมีทั้งโทษปรับและจำคุก
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
DBD: พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมล่าสุด) | link |
SEC: พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 | link |
Select your options
ความสะดวกในการฟ้องร้องของผู้ถือหุ้น
ผู้ถือสิทธิในการฟ้องร้องตามกฏหมายดังต่อไปนี้
ผู้ถือหุ้นรายเดียวก็สามารถขอตรวจสอบงบดุลบัญชีกำไรขาดทุน และรายงานของผู้สอบบัญชีของบริษัทได้
ผู้ถือหุ้นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 สามารถร้องขอให้นายทะเบียนแต่งตั้งผู้ตรวจสอบเพื่อทำการตรวจสอบธุรกรรมได้
ผู้ถือหุ้นที่เป็นโจทย์สามารถขอเอกสารจากทั้งจำเลยและพยานโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลสั่งให้คู่ความอีกฝ่ายส่งต้นฉบับเอกสารต่อศาลเพื่อให้ตรวจดูเอกสารได้
ผู้ถือหุ้นสามารถร้องขอเอกสารที่เกี่ยวข้องจากจำเลย โดยต้องระบุเอกสารที่ต้องอ้างอิงโดยแสดงเอกสารหรือสภาพเอกสารที่จะอ้างไว้ในบัญชีระบุพยาน
ผู้ถือหุ้นสามารถซักถามพยานและถามค้านจำเลยได้
ทั้งนี้มาตรการการพิสูจน์ให้ศาลเชื่อในข้อเท็จจริงทางคดีทางแพ่งต่ำกว่าคดีทางอาญา
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
DBD: พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมล่าสุด) | link |
สคก.: ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งฯ | link |
Select your options
โครงสร้างการกำกับดูแลกิจการ
- บริษัทมหาชนจำกัดที่มีการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนจะต้องจัดให้มีกรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
- เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการมีหน้าที่ความรับผิดชอบต่างกัน บริษัทจดทะเบียนควรแยกบุคคลที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการออกจากบุคคลที่ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการตามหลักกการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2555
- การเข้าทำรายการขนาดใหญ่/มีนัยสำคัญ ต้องได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น หากไม่เข้าข้อยกเว้นตามที่กำหนด
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
DBD: พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมล่าสุด) | link |
SEC: พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535 (รวมล่าสุด) | link |
SEC: หลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีสําหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 | link |
ความคุ้มครอง
- การเปลี่ยนแปลงสิทธิในการออกเสียงของผู้ถือหุ้นจะต้องได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้น
- ในกรณีที่มีผู้ที่จะเข้ามาครอบงกิจการของบริษัทจดทะเบียน โดยการได้มาซึ่งหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงถึงร้อยละ 25 ขึ้นไป ต้องจัดทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ
- การกำหนดข้อจำกัดในการโอนหุ้นจะทำได้เฉพาะเพื่อการรักษาสิทธิและผลประโยชน์ของบริษัท หรือเพื่อเป็นการรักษาอัตราส่วนการถือหุ้นของคนไทยกับคนต่างด้าว
- อนุญาตให้มีการถือหุ้นไขว้ระหว่างกันได้ตามสัดส่วนที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนกำหนด แต่ไม่เกินร้อยละ 25 เว้นแต่ในกรณีที่เป็นบริษัทใหญ่และย่อย ห้ามมิให้มีการถือหุ้นไขว้ระว่างกัน
ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด 17 พฤษภาคม 2558
Source :
SET: การกำกับดูแลกิจการและผลการดำเนินงานของ บริษัท ของประเทศไทย | link |
DBD: พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. ๒๕๓๕ (รวมล่าสุด) | link |
SEC: พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2535 (รวมล่าสุด) | link |
SEC: หลักการกํากับดูแลกิจการที่ดีสําหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 | link |